“คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์” เรียนจบแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง แล้วแต่ละอาชีพได้ค่าตอบแทนเท่าไร

RSS
“คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์” เรียนจบแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง แล้วแต่ละอาชีพได้ค่าตอบแทนเท่าไร

คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ เรียนจบแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง แล้วแต่ละอาชีพได้ค่าตอบแทนเท่าไร?

 

บริหารธุรกิจ

 

  1. นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจส่วนตัว

ประกอบธุรกิจหรือธุรกิจส่วนตัว ผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฏหมาย สามารถกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานเองได้ ไม่มีเงินเดือนหรือมีรายได้ที่แน่นอน

 

  1. นักการธนาคาร/นักลงทุน

บริหารสถาบันการเงินและตลาดหลักทรัพย์ หลักการลงทุน นโยบายการเงินการคลัง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานบริการด้านการเงิน บริหารสินเชื่อ วิเคราะห์หลักทรัพย์ งานการธนาคาร งานลงทุน และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

  1. นักการตลาด

การสร้างสรรค์คอนเทนต์ สร้างแคมเปญ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับองค์กร  ซึ่งนักการตลาดนั้นจะเป็นหนึ่งในทีมของผู้จัดการตลาด หรือ ผู้บริหารฝ่ายการตลาด

 

  1. พนักงานฝ่ายบุคคล

วางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ระบุและรักษาพนักงานที่โดดเด่นให้ยังอยู่ในองค์กร คัดเลือกบุคลากร พัฒนาบุคลากร ดูแลกฎระเบียบและความสัมพันธ์ภายในองค์กร

 

  1. ผู้บริหาร/ผู้จัดการ ในองค์กรต่างๆ

เป็นผู้นำในด้านความรู้ความสามารถในหลาย ๆ ด้าน มีหน้าที่ในการสั่งการให้กับทุกฝ่ายทุกหน่วยงานสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร

 

อัตราเงินเดือนบริหารธุรกิจ

 

นักการธนาคาร

ระดับเจ้าหน้าที่มีรายได้ 20,000 – 34,000 บาท

ระดับหัวหน้างานมีรายได้ 48,000-84,000 บาท

ระดับผู้จัดการขึ้นไปมีรายได้ 51,000-87,000 บาท

 

นักการตลาด

ระดับเจ้าหน้าที่มีรายได้ประมาณ 19,500-32,000 บาท

ระดับหัวหน้างานมีรายได้ประมาณ 34,000-56,000 บาท

ระดับผู้จัดการขึ้นไปมีรายได้ประมาณ 79,000-120,000 บาท

 

นักธุรกิจ

รายได้ของนักธุรกิจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับธุรกิจที่ทำ

 

พนักงานฝ่ายบุคคล

  • งานในออฟฟิศ

ระดับเจ้าหน้าที่มีรายได้ประมาณ 18,000-30,000 บาท

ระดับผู้จัดการขึ้นไปมีรายได้ประมาณ 30,000-40,000 บาท

  • งานในอุตสาหกรรม

ระดับเจ้าหน้าที่มีรายได้ประมาณ 18,000-40,000 บาท

ระดับผู้จัดการขึ้นไปมีรายได้ประมาณ 35,000-50,000 บาท

 

บัญชีบัณทิต

 

  1. นักบัญชี

ทำหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณ วิเคราะห์แผนการเงิน ตรวจสอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท

 

  1. ผู้ตรวจสอบบัญชี

ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี ตรวจสอบในเรื่องภาษี ว่าบริษัทของผู้ว่าจ้างมีการชำระภาษีที่ตรงเวลาหรือไม่ ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน การโอนรายการต่าง ๆ รายการบัญชีรายวัน และอื่น ๆ

 

  1. ที่ปรึกษาทางบัญชี

ให้คำปรึกษาทางด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการภาษีอย่างถูกกฎหมาย เป็นที่ปรึกษาด้านภาษี ติดต่อกับกรมสรรพากร มีความรู้ด้านวิชาการ ด้านจิตวิทยา ด้านไอที ด้านภาษี ด้านภาษา และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

 

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี

ให้คำปรึกษาแก่องค์กรในด้านการปฏิบัติภาษีอากร กฎหมายภาษี เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในด้านต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานหรือบริษัท ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภท

 

  1. อาจารย์/ ติวเตอร์

นักบัญชีสามารถใช้วิชาชีพที่มีไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นด้วยการเป็นอาจารย์หรือติวเตอร์ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องจบคุรุศาสตร์ แต่ถ้าอยากเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องเรียนต่อปริญญาโท สาขาบัญชีก่อน

 

  1. ธุรกิจส่วนตัว

คนที่จบบัญชีสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประกอบธุรกิจส่วนตัวได้ง่ายกว่า เพราะมีความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการรายได้ต่าง ๆ อย่างดี

 

อัตราเงินเดือนบัญชีบัณทิต

 

  1. นักบัญชี เงินเดือนเริ่มต้นเด็กจบใหม่ : 15,000 – 25,000 บาท

มีประสบการณ์จะได้ : 28,000 – 40,000 บาท

 

  1. ผู้ตรวจสอบบัญชี เงินเดือนเริ่มต้นเด็กจบใหม่ : 20,000 – 28,000 บาท

มีประสบการณ์จะได้เงินเดือนที่ : 30,000 – 60,000 บาท

 

  1. ที่ปรึกษาทางบัญชี เงินเดือนเริ่มต้นเด็กจบใหม่ : 20,000 – 28,000 บาท

มีประสบการณ์จะได้เงินเดือนที่ : 30,000 – 60,000 บาท

 

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เงินเดือนเริ่มต้นเด็กจบใหม่ : 18,000 – 25,000 บาท
มีประสบการณ์จะได้เงินเดือนที่ : 30,000 – 50,000 บาท

 

  1. อาจารย์/ ติวเตอร์

อาจารย์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทเริ่มต้นที่ 13,000 – 25,000 บาท

                                ปริญญาเอกเริ่มต้นที่ 20,000 – 38,000 บาท

ติวเตอร์ มีรายได้ไม่คงที่ แต่ติวเตอร์เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่รายได้ค่อนข้างดี รายได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะคิดเท่าไร ถ้ายิ่งมีประสบการณ์และมีความสามารถเฉพาะทาง ค่าสอนก็จะเพิ่มมากขึ้น

 

  1. ธุรกิจส่วนตัว รายได้ขึ้นอยู่กับว่าทำธุรกิจอะไร ถ้าบริหารจัดการไม่ดีมีความเสี่ยงมากกว่ามนุษย์เงินเดือน แต่ธุรกิจส่วนตัวมีข้อดีตรงที่สามารถหยุดพักตอนไหนก็ได้ มีอิสระทางความคิด

 

** เงินเดือนที่จะได้รับ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ทักษะในสายงาน , ประสบการณ์ความสามารถ , เงินเดือนตามโครงสร้างบริษัท เป็นต้น **

 

รัฐประศาสนศาสตร์

 

รับราชการภาครัฐ

ข้าราชการส่วนกลาง

- องค์กรในสังกัดของรัฐ องค์การมหาชน  และรัฐวิสาหกิจ

  รับราชการในหน่วยงาน ภาครัฐ กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำรวจ ทหาร ปลัดอำเภอ ฯลฯ

  ข้าราชการส่วนภูมิภาค

 รัฐวิสาหกิจ เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคาร  ออมสิน ฯลฯ

  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร ฯลฯ

- ทำงานภาคเอกชน

พนักงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายนโยบายและแผนงานของทุกบริษัท พนักงานธนาคาร

- ประกอบธุรกิจส่วนตัว

 

อัตราเงินเดือนรัฐประศาสนศาสตร์

 

  1. เงินเดือนเฉลี่ย 14,000 – 18,500 บาท ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง

 

  1. ปลัดอำเภอ เงินเดือน 15,000 – 16,500 บาท บาท

 

  1. ธุรกิจส่วนตัว รายได้ขึ้นอยู่กับว่าทำธุรกิจอะไร ถ้าบริหารจัดการไม่ดีมีความเสี่ยงมากกว่ามนุษย์เงินเดือน แต่ธุรกิจส่วนตัวมีข้อดีตรงที่สามารถหยุดพักตอนไหนก็ได้ มีอิสระทางความคิด

 

  1. พนักงานธนาคาร เงินเดือนเริ่มต้นที่ 17,000 บาท
  • Parida Ouamsaoad