มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยณิวัฒนา ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ ๒/๒๕๔๐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๐ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนที่ได้สถาปนาขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชโองการโปรดเกล้าสถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตในเขตภูมิภาคของภาคกลาง และเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ภูมิภาคของประเทศในการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ โดยมีภารกิจหลัก ๔ ประการคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ และประการสำคัญคือเพื่อตอบสนองความต้องการของชาติในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่พรั่งพร้อมด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะขั้นสูงในการประกอบอาชีพ และกอปรด้วยคุณธรรม จริยธรรม
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันอุดมศีกษาที่พัฒนานิสิตให้เป็นศึกษิตที่กอร์ปด้วยคุณธรรม จริยธรรม และสร้างสรรค์สังคม
พันธกิจ
มีพันธกิจหลักเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยอื่นๆ กล่าวคือ ในด้านการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่จะมุ่งมั่นพัฒนาภาวะผู้นำ ปลูกจิตสำนึกในเรื่องการใฝ่การศึกษาทั้งตามรูปแบบการศึกษาในสถาบันและการศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การอบรมบ่มนิสัยนิสิตแต่ละคนให้เจริญเติบโตเป็นผู้มีวินัย ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในรากฐานการดำเนินชีวิตที่ดีงาม รู้จักตนเอง และรู้จักผู้อื่น ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและเสียสละ รับผิดชอบต่อสังคม มีพลานามัยสมบูรณ์ เคารพกฎหมายและเป็นศึกษิตที่มีความสามารถ เป็นพลเมืองดีของชาติและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ปรัชญา
กำหนดปรัชญาในการดำเนินงาน คือ“มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยพลังความคิด”
ปณิธาน
มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษิต คือ บัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรดังนี้
หลักสูตรประกาศนียบัตร 3 หลักสูตร ดังนี้
ปริญญาตรี 13 คณะวิชาดังน้ี
ปริญญาโท 5 หลักสูตร ดังนี้
ปริญญาเอก 5 หลักสูตร ดังนี้
๒๕๓๙
๒๕๔๐
๒๕๔๑
๑. คณะบริหารธุรกิจ
๒. คณะนิติศาสตร์
๓. คณะรัฐศาสตร์
๔. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๕. บัณฑิตวิทยาลัย
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๔๖
๒๕๔๗
๒๕๔๘
มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัย จึงได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและประเทศชาติ เป็นการเน้น “ การจัดการศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ” ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานขององค์กรวิชาชีพ และเน้น “ การจัดการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่าย” ด้วยการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ ฉบับที่ ๘ เป็นต้นมา ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ให้มีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ สามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต โดยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับตนเองที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย กอปรกับประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามการที่จะบรรลุตามเป้าหมายนั้นได้จะต้องมีบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อให้บริการทางสาธารณสุขให้มีจำนวนเพียงพอ และมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง แต่จากข้อเท็จจริงพบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีความขาดบุคลากรด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีความต้องการบุคลากรเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต แต่การผลิตบุคลากรด้านสุขภาพยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก และย่อมส่งผลกระทบต่อระบบการสาธารณสุขและภาวะสุขภาพของประชาชนโดยรวม ในขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ตามความต้องการ ได้อย่างทั่วถึง และเสมอภาคกัน สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กว้างขวางทั่วถึง ทั้งกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มผู้ทำงานทั้งในและนอกสถานประกอบการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันเป็นการผลักดันให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ
๒๕๕๐
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
๒. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
๓. คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๑
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
๒. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๒
๑. คณะทันตแพทยศาสตร์
๒. คณะสัตวแพทยศาสตร์
๓. คณะเทคนิคการแพทย์
๔. คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล
๕. บัณฑิตวิทยาลัย
๖. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
๗. คณะสาธารณสุขศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๓
๑. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
๒. คณะสาธารณสุขศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๔
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
๒. คณะเทคนิคการแพทย์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๕
๑. คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
เป็นที่ทราบดีว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่มีเป้าหมายสำคัญ คือเพื่อช่วยให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่มีฐานการผลิตรวมกัน มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยทางการผลิตอย่างเสรี เกิดความเป็นปึกแผ่น และสร้างอำนาจต่อรองทางด้านการค้า/เศรษฐกิจ ในเวทีการค้าโลกได้อย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการกำหนดนโยบายการส่งเสริมให้การศึกษามีความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนา
มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างต่อเนื่อง สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๖ เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการแพทย์ หรือ University Medical Hub ด้วยการจัดตั้งคณะวิชาและเปิดดำเนินการจัดการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพิ่มขึ้น และยังได้มีแผนที่จะจัดตั้งหน่วยงานที่มีศักยภาพในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัย ทั้งนี้เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของตลาดแรงงานโดยเฉพาะบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมื่อมีการเข้าสู่การเป็นสมาชิกในประชาคมอาเซียน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของอาเซีย
๒๕๕๖
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๗
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๘
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๕๙
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๖๐
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
๒. คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี
๓. คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล
๔. คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์
๕. คณะทันตแพทยศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและประเทศที่กำลังถดถอย จำนวนผู้ประสงค์เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาลดลง แต่มหาวิทยาลัยได้พยายามพัฒนาตนเองเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย แม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย
๒๕๖๑
๑. คณะเภสัชศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๖๒
๑. คณะแพทยศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๖๓
๑. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
๒. คณะนิติศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
๒๕๖๔ ถึงปัจจุบัน
๑. คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร