แนะนำคณะ
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาบุคลากรระดับวิชาชีพทั้งด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่จำเป็นในระบบสุขภาพคือพยาบาลวิชาชีพ เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขช่วยรองรับผู้ป่วยและผู้รับบริการสุขภาพกอปรกับได้มีการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของไทย ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่ พ.ศ.2545
แม้จะมีการผลิตบัณฑิตพยาบาลเพิ่มขึ้นจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นลำดับแต่แนวโน้มจำนวนบุคลากรพยาบาลก็ยังไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มจำนวนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลน ยังเป็นการขยายบทบาทของสถาบันในการจัดการเรียนการสอนและเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์แก่ผู้เรียนในส่วนภูมิภาคจึงเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาการศึกษาพยาบาลดำเนินการร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ.2549 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติการขอเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการจากสภาการพยาบาล เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ซึ่งเปิดดำเนินการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา และสภาการพยาบาลได้ให้การรับรองทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 - 2553 และเมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาได้ให้การรับรองอย่างต่อเนื่องครั้งละ 2 ปี จนถึงปีการศึกษา 2559
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ปรัชญา
มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยพลังความคิด
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มุ่งพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตที่เป็นปัญญาชนมีความรู้และทักษะทางวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นพลเมืองดีของสังคมไทยและสังคมโลก
ปณิธาน
เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่มุ่งผลิตบัณฑิตพยาบาลที่ กอปรด้วยคุณธรรม จริยธรรม และมีทักษะเชิงวิชาชีพ สามารถใช้พลังความคิด สติปัญญา เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ
พันธกิจ
1) ด้านการผลิตบัณฑิต ยึดหลักการจัดการศึกษา 3 ประการ คือ
(1) เตรียมความพร้อมให้บัณฑิตตระหนักถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(2) จัดหาทรัพยากรจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพการเรียนรู้ของนิสิตทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สร้างเสริมปัญญาและทักษะวิชาชีพทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(3) จัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรและคณะฯ
2) ด้านการวิจัย ส่งเสริมการทำวิจัยและใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และวิชาชีพ
3) ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ให้บริการวิชาการแก่สังคมในระดับท้องถิ่นที่ต่อเนื่องและยั่งยืนทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ
4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของไทย
โครงสร้างการบริหาร
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักถึงโอกาสทางการศึกษาของประชากรในวัยเรียน ที่มีความสนใจเข้าศึกษาในสาขาวิชาการพยาบาล เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลาการทางการพยาบาลของประเทศ กอปรกับการที่ประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมบุคลากรในวิชาชีพการพยาบาลเพื่อรองรับสถานการณ์ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะเชิงวิชาชีพ ควบคู่ไปกับการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ชุมชน ประเทศชาติ และประชาคมอาเซียนได้
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Nursing Science
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.N.S.
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ | 9 |
1.2 กลุ่มวิชาภาษา | 15 |
1.3) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 6 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 107 |
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 25 |
2.2 กลุ่มวิชาชีพ | |
2.2.1 ภาคทฤษฎี | 46 |
2.2.2 ภาคปฏิบัติการพยาบาล | 36 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 143 |
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองหรือนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยฯ) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง หรือ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3. มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
4. ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
4.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง/หรือผู้อื่น รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรต่อการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.3 เป็นโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.5 มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง คือ
4.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
4.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
4.6 มีความผิดปกติในการได้ยิน คือ
4.6.1 มีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 40 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง
4.6.2 ความสามารถในการแยกเเยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จาก ความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
4.7 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1. พยาบาลประจำโรงพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชน
2. ประกอบธุรกิจทางการพยาบาล เช่น เปิดคลินิกสุขภาพทางการพยาบาล พยาบาลพิเศษ (Special Nurse)
3. ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวแทนจำหน่ายเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ พยาบาลประจำโรงเรียน พยาบาลประจำโรงงาน และสถานประกอบการอื่น ๆ
4. ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เพื่อเป็นอาจารย์พยาบาล และ/หรือผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักถึงโอกาสทางการศึกษาของประชากรในวัยเรียนที่มีความสนใจเข้าศึกษาในสาขาวิชาการพยาบาล เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลของประเทศ กอปรกับการที่ประเทศจะต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 การเตรียมบุคลากรในวิชาชีพการพยาบาลเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตต่อไป เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะเชิงวิชาชีพ ควบคู่กับการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ชุมชน ประเทศชาติ และประชาคมอาเซียนได้
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Nursing Science
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.N.S.
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองหรือนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยฯ) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง หรือ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3. มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
4. ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
4.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง/หรือผู้อื่น รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรต่อการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.3 เป็นโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.5 มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง คือ
4.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
4.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
4.6 มีความผิดปกติในการได้ยิน คือ
4.6.1 มีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 40 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง
4.6.2 ความสามารถในการแยกเเยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จาก ความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
4.7 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1. พยาบาลประจำโรงพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชน
2. ประกอบธุรกิจทางการพยาบาล เช่น เปิดคลินิกสุขภาพทางการพยาบาล พยาบาลพิเศษ (Special Nurse)
3. ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวแทนจำหน่ายเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ พยาบาลประจำโรงเรียน พยาบาลประจำโรงงาน และสถานประกอบการอื่น ๆ
4. ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เพื่อเป็นอาจารย์พยาบาล และ/หรือผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล
ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
เพจ Facebook คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล
ติดต่อคณะ
CONTACT INFO
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทายาเขตวัชรพล
เลขที่ 4 หมู่ 11 ถนนหทัยราษฏร์ ตำบลลาดสวาย
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
โทรศัพท์ 02-563-5252-3
ต่อ 5501 คณบดี
ต่อ 5502 รองคณบดี
ต่อ 5500 เลขานุการคณะ
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตวัชรพล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น