การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการวางแผน และกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร และตรงตามความมุ่งหวังของสังคม เนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา จัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆ ได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญคือ ทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาใด จะมีความมั่นใจได้ว่าสถาบันการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงเท่าเทียมกัน ไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นหรือฝากลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นระบบที่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาให้ทัดเทียมกัน ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงยอมไม่ได้ ถ้าลูกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ในระดับต่างๆ ดังนั้น ผู้ที่รับประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา กรมเจ้าสังกัด และกระทรวง ต้องมีการรับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน การประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งได้ ดังนี้
ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน หรือเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บุคคลต้องมีการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ทันกับยุคและสมัย การที่บุคคลจะเรียนรู้และปรับตัวได้ดีอันเนื่องมาจากการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และการศึกษาที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีระบบการศึกษาและการจัดการระบบที่ดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาครู การพัฒนาสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างความร่วมมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่างๆ
ยุทธวิธีในการทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพได้ดีเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และผลกระทบที่สำคัญจากการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทำให้ประเทศไทยมีการรับรู้และตื่นตัวในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมต่อประเทศตะวันตก ความคาดหวังของสังคม ความต้องการของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ได้ถูกระบุในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษา ดังนี้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
1. กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 ข้อ 2 วรรคสอง บัญญัติว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
2. กฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 ข้อ 6 (1) บัญญัติว่า ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาดังต่อไปนี้
การประกันคุณภาพการศึกษามีหลักการดังนี้
จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย
จุดมุ่งหมายทั่วไป ได้แก่
จุดมุ่งหมายเฉพาะ ประกอบด้วย
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบ การควบคุม การติดตาม ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นทั้งหมด หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกที่ชัดเจน มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ
ส่วนการประกันคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบ คุณภาพและมาตร ฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาซึ่งกระทำโดยหน่วยงานภายนอก หรือผู้ประเมินภายนอก เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
การประกันคุณภาพภายใน จะเน้นการตรวจสอบและประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านต่างๆ ของปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการ (Process)
ส่วนการประกันคุณภาพภายนอก จะเน้นการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในด้านต่างๆ ของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
ดังนั้น การประเมินคุณภาพภายในย่อมส่งผลถึงการประกันคุณภาพภายนอกโดยตรง การประกันคุณภาพภายนอก จะใช้ตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานต่างๆ ในการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา รวมทั้งการตรวจเยี่ยมสถาบัน ซึ่งในการประเมินต้องคำนึงถึงปรัชญา พันธกิจ และลักษณะการจัดการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปี เตรียมเอกสารข้อมูลในด้านต่างๆ รวมถึงข้อมูลตามตัวบ่งชี้ และรายงานการประเมินตนเอง
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ (กาญจนบุรี)
คณะพยาบาลศาสตร์ (วัชรพล)
คณะพยาบาลศาสตร์ (บุรีรัมย์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
ติดต่อหน่วยงาน
CONTACT INFO
ส่วนงานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล เลขที่ 4 หมู่ 11 ถ.หทัยราษฎร์ ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
wtu.qa@western.ac.th
โทรศัพท์ : 02-563-5252 ต่อ 5018
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากส่วนงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น