รับสมัครนิสิตใหม่

สมัครเรียน
Section
Section
Section

ร้อง! ศธ.ให้ทบทวนหลักสูตร หลังพบเนื้อหาบางส่วนลดทอนความเสมอภาคระหว่างเพศ

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่าย ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย นายอินรอน เชษฐวัฒน์ แกนน่าเครือ ข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา เครือข่ายเยาวชน นักเรียนนักศึกษา และผู้ที่เคยถูกกระทําด้วยความรุนแรง กว่า 30 คน พร้อมป้ายข้อความว่า “ศธ.ช่วยที หลักสูตรการศึกษา คงความคิดชายเป็นใหญ่” “ศธ.ต้องส่งเสริม สิทธิความเท่าเทียมในสังคม” และ “การศึกษาต้องไม่บ่มเพาะความรุนแรงในครอบครัว" รวมตัวยื่นจดหมาย เปิดผนึกถึง นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เรียกร้องให้เพิ่มหลักสูตรความเสมอภาค ระหว่างเพศและ บรรจุในตําราการเรียนการศึกษา เช่น มีการเพิ่มกิจกรรมเพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหาความ รุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน โดยมี นายวีระกุล อรัณยะนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รับเรื่องแทน

น.ส.อังคณา กล่าวว่า เนื่องจากเนื้อหาบางส่วนในหลักสูตรการเรียนการสอน ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ใน เรื่องสิทธิความเท่าเทียมระหว่างเพศ การให้เกียรติเคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกายผู้อื่น ซ่อนความคิดแบบชาย เป็นใหญ่ มีส่วนในการบ่มเพาะความคิดความเชื่อที่ผิดๆ มีส่วนทําให้ปัญหาความรุนแรงทางเพศ และความ รุนแรงในครอบครัวในสังคมไทยทวีความรุนแรง สะท้อนจากข่าวความรุนแรงทางเพศ ซึ่งอันดับหนึ่งเป็นข่าว ข่มขึ้น รองลงมาเป็นข่าวอนาจาร และข่าวพยายามอนาจาร ที่ผู้กระท่าเป็นคนรู้จักคุ้นเคยหรือเป็นบุคคลใน ครอบครัว ขณะที่อายุของผู้ถูกกระท่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 5-20 ปี และสาเหตุส่วนใหญ่มา จากระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งถือเป็นความสัมพันธ์เชิงอานาจระหว่างเพศที่ผู้ชายมีอานาจเหนือกว่า และ จากปัจจัยกระตุ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด

น.ส.อังคณา กล่าวต่อว่า ในวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ซึ่งใน ปี 2561 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ผลักดันมาตรการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ เข้าใจ ป้องกันและแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และครั้งนี้ได้มีข้อเสนอต่อ ศธ.ในฐานะผู้กํากับดูแลหลักสูตรการ เรียนการสอน เพื่อนําไปพิจารณาปรับปรุง ดังนี้ 1.การตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการน่าหลัก สูตรเจนเตอร์ (Gender) หรือความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Equality) ไปปรับใช้ในระบบการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับอุดมศึกษา

ให้ความสําคัญในการออกแบบหลักสูตรที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทุกเพศ ทุกวัย เคารพสิทธิเนื่อตัวร่างกายของตนเองและผู้อื่น ควรพัฒนา ปรับหรือแก้ไข และยกเลิกหลักสูตรที่มีการกดทับ ตอกย้ําความคิด ความเชื่อในการมองว่าเพศชายเหนือกว่าเพศอื่นๆ 3.พัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา ปรับ ความคิดของครูให้มีความรู้ ความเข้าใจในการเคารพ สิทธิเนื้อตัวร่างกายของตัวเองและผู้อื่น มีแนวทางการ สอนที่สอดคล้องกับ 3 ช่วงวัย คือ เด็กเล็ก เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น และ4. ผลักดันให้แต่ละสถานศึกษาจัด กิจกรรมเพื่อยุติความรุนแรง ต่อผู้หญิง และเด็ก ในเดือนพฤศจิกายนของทุกๆปี” น.ส.อังคณา กล่าว

ด้าน นายอินรอน กล่าวว่า ศธ.ต้องทบทวนการเรียนการสอน ต้องสอนให้เด็กเคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ให้ เกียรติซึ่งกันและกัน และผลักดันให้มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศให้มากขึ้น ส่วนครูผู้ ปกครองต้องเน้นสอนลูกหลานให้เท่าทันมิติต่างๆ ที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน ต้องไม่ครอบงําความคิดของเด็ก ต้องเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างเหมาะสม เพราะยุคนี้เป็นยุคที่วิชาลอยอยู่กลางอากาศ เด็กอยากรู้ อยากเห็น คลื่นของข้อมูลมีจํานวนมาก ดังนั้นอย่าไปจากความคิดของเด็ก อย่าไปยัดเยียด แต่ต้องกระตุ้น ให้เด็กคิดอย่างหลากหลาย

นายวีระกุล กล่าวว่า ตนขอชื่นชมในความห่วงใยที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และเครือข่ายผู้ปกครองและนัก ศึกษาฯ มาร่วมให้ข้อเสนอแนะที่ดี ซึ่งตนจะน่าเรียนต่อ นพ.ธีระเกียรติ ได้รับทราบและคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูป ธรรมได้ในอนาคตอันใกล์ ทั้งนี้ ศธ.มีนโยบายที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนทั้งกายและใจ และในการจัดการ เรียนการสอนที่ผ่านมาก็ได้เน้นย้ําเรื่องสิทธิความเสมอภาค ระเบียบวินัยอยู่แล้ว ตลอดจนร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการ ขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก : มติชนออนไลน์ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 - 13:24 น. 

Section