รับสมัครนิสิตใหม่

สมัครเรียน
Section
Section
Section

‘กมว.’ ซัด 2 ม.ไม่ส่งหลักสูตรให้คุรุสภารับรอง-ตั้งอนุกก.รับรองปริญญา-ลงพื้นสุ่มตรวจ

ซัด 2 ม.ไม่ส่งหลักสูตรให้คุรุสภารับรอง เผยน.ศ.จะจบปี62-ขู่หลักสูตรไหนไม่ผ่านการรับรองจะ ขึ้นเว็บไซต์ประจาน ตั้งอนุกก.รับรองปริญญา-ลงพื้นสุ่มตรวจ
นายเอกชัย สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า ในการประ มกมว.เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุ่มมีมติชัดเจนแล้วว่าผู้เรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ขึ้นไป ไม่ว่าจะเรียนหลักสูตรการผลิตครู 4 ปี 5 ปี หรือในระดับปริญญาตรีควบปริญญาโท เมื่อนักศึกษาจบมา แล้วต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อย่างไรก็ตาม ตนทราบข้อมูลมาว่าทุกมหาวิทยาลัยต่าง ปรับมาสอนในหลักสูตรครู 4 ปี หมดแล้ว 100% ส่วนนักศึกษาเรียนหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 5 ปีเดิม หรือผู้ที่เรียนหลักสูตรครูตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ลงไป แม้นักศึกษาไม่ต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ แต่จะ ต้องเข้ารับการประเมินกับมหาวิทยาลัยที่ตนเรียนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตฯ

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า ส่วนรูปแบบการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ นั้น ที่ประทุ่มยังไม่ได้พิจารณา อย่างไร ก็ตามมีแนวโน้มสูงที่จะแบ่งการสอบออกเป็น 2 ช่วง คือนักศึกษาที่เรียนในขั้นปีที่ 3 จะต้องมาสอบวัดความรู้ พื้นฐานมาตรฐานวิชําชีพครู และรอบที่สอง นักศึกษาที่เรียนชั้นปีที่ 4 จะสอบวัดความรู้การปฏิบัติงานสอน เพื่อไม่ให้นักศึกษาเกิดความเครียด และที่สําคัญการกําหนดสอบจะต้องไม่ขันกับการสอบบรรจุครู และแต่ง ตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอีกด้วย

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมว. มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับรองปริญญาการผลิตครู โดยมีนาย อนุชาติ พวงสําลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธาน ซึ่งแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 โดยคณะอนุกรรมการรับรองฯ มีหน้าที่ ตรวจสอบหลักสูตรการผลิตและรับรองปริญญาทางการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ขึ้นไป แม้กฎหมาย กําหนดไว้ว่าสภามหาวิทยาลัยมีอํานาจในการอนุมัติหลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรเองได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการป้องกันไว้อีกชั้นหนึ่งคือ ปริญญาทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนจะต้องผ่านการรับรองจาก คุรุสภาด้วย โดยคณะอนุกรรมการรับรองฯ จะลงพื้นที่ลุ่มตรวจ และวางระเบียบปฏิบัติในการรับรองปริญญา ใหม่ โดยจะทบทวนจากของเดิมว่ามีสิ่งใดที่ทําซ้ํา หรือทําแล้วมีปัญหาต้องมาทบทวนใหม่หมด

“ที่ผ่านมาพบว่าบางสถาบันผลิตครูเปิดรับนักศึกษาและเปิดสอนไปแล้ว แต่ไม่ได้ทําการส่งหลักสูตรมาให้คุรุ สภาพิจารณา รอจนกระทั่งนักศึกษาจะจบการศึกษาและค่อยส่งหลักสูตรให้คุรุสภาพิจารณารับรองนอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังนําเอานักศึกษามาเป็นเงื่อนไขต่อรอง ถ้าคุรุสภาไม่รับรอง จะเกิดปัญหาขึ้นแน่นอน ดังนั้นใน ปีนี้จะพยายามแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นมา เพราะในกติกากําหนดไว้ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยควร ส่งหลักสูตรให้คุรุสภาพิจารณารับรองอย่างน้อย 60 วัน ก่อนเปิดหลักสูตร ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่าคุรุสภาทํา ส่วนหนึ่งไม่ทัน และสถาบันผลิตครูหลายแห่งไม่ยอมส่งหลักสูตรให้คุรุสภาพิจารณารับรอง คณะอนุกรรมการ รับรองฯ จะต้องคิดหาวิธีในการรับรองใหม่ เพื่อให้ปัญหานี้หมดไป ส่วนจํานวนสถาบันที่ไม่ส่งหลักสูตรให้คร สภาพิจารณา เท่าที่ผมทราบคือมี 2 สถาบันเท่านั้น ที่เด็กจะจบปีการศึกษา 2562 แต่สถาบันผลิตครูไม่ส่ง หลักสูตรให้คุรุสภารับรอง ผมไม่สามารถเอ่ยชื่อได้ว่าเป็นสถาบันไหนบ้าง เพราะอาจจะโดนฟ้อง ขณะนี้คุรุ สภาก็เร่งรัดขอเอกสารจากทางสถาบันทั้ง 2 แห่งอยู่” นายเอกชัย กล่าว 

หากสถาบันผลิตครูไม่ส่งหลักสูตรมาให้คุรุสภารับรอง อาจจะทําให้นักศึกษาของ สถาบันนั้น ไม่มีสิทธิสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ ซึ่งนักศึกษาต้องไปฟ้องสถาบันเองเพื่อเรียกร้องความเป็น ธรรม แต่มีสิ่งที่ กมว.สามารถทําได้เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่จะมาเรียนคือ นําหลักสูตรที่ไม่ผ่านการรับรองขึ้น เว็บไซต์คุรุสภา เพื่อให้ข้อมูลกับสังคมว่าสถาบันไหนบ้างที่ยังไม่ผ่านการรับรอง ถือเป็นการปรามสถาบันผลิต ครูอีกทางหนึ่งด้วยว่าให้รีบส่งหลักสูตรมาให้คุรุสภาพิจารณารับรองโดยด่วน

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก : มติชนออนไลน์ วันที่ 21 มกราคม 2562 - 07:50 น.

Section