บัณฑิตวิทยาลัย ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของคนในประเทศและต่างประเทศและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ในด้านการจัดทำหลักสูตรและการสอน เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษาได้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ จึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการหลักสูตรและการสอน เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบันให้มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อเป็นบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศต่อไป
“WTU สรร สร้าง ผู้บริหารสู่มาตรฐานสากล”
ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของคนในประเทศและต่างประเทศและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ในด้านการจัดทำหลักสูตรและการสอน เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษาได้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ จึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการหลักสูตรและการสอน เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบันให้มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อเป็นบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศต่อไป
ปี 2541
Course Work 1 ปีการศึกษา
ศูนย์การศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
สภามหาวิทยาลัยและกระทรวง
อุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/
รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 4,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร | บาท | |
สำหรับผู้ที่ต้องการใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา | 230,000 | บาท | |
รวมทั้งหมด | 234,000 | บาท | |
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา | 140,000 | บาท | |
รวมทั้งหมด | 144,000 | บาท |
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้กำหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีละ 200,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท ดังนั้น นิสิตจะต้องชำระส่วนต่างค่าลงทะเบียนเรียนเป็นจำนวนเงิน 700,000 บาทต่อปี ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ (350,000 บาทต่อภาคการศึกษา)
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
วิธีสมัครเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
https://xregis.western.ac.th/index_enroll.html#/enroll
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และ ทําโครงร่างวิทยานิพนธ์และจัดทําวิทยานิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และมี การเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์คณะกรรมการสอบ
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | N/C | |
---|---|---|
หมวดวิชาพื้นฐาน | 3 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาบังคับ
| 21 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 3 | หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต |
หน่วยกิต รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 39 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | N/C | |
---|---|---|
หมวดวิชาพื้นฐาน | 6 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 21 | หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 3 | หน่วยกิต |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 39 | หน่วยกิต |
สําหรับผู้เรียนไม่สําเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาการบริหารการศึกษาหรือที่เกี่ยวข้อง ให้ เรียนรายวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานเพิ่มเติม ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ คณะกรรมการบริหาร คณะวิชา
ศึกษาความหมายและความสําคัญของหลักสูตร หลักสูตรแบบต่างๆ พื้นฐานในการจัดทําหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดประสบการณ์และกิจกรรมให้ สอดคล้องกับหลักสูตร การใช้หลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น การเลือกใช้แหล่งวิทยาการเสริมหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การสร้างและการพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร รวมถึงแนวคิดด้านปรัชญา สังคม วิทยาและจิตวิทยา ต้องการศึกษาโดยศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการทฤษฎีทางการศึกษา ศึกษาปรัชญา สังคม วิทยาและจิตวิทยาที่มีอิทธิผลต่อการจัดการศึกษาและสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาไทย บริบทและ แนวโน้มการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ศึกษาโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ สํานวนภาษาอังกฤษ ความไพเราะทางภาษา ศึกษาและ พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ โดยเน้นที่การพัฒนาการอ่าน การเขียน เพื่อเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการ อ่าน ฟัง พูด ได้อย่างมั่นใจ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการฟัง การพูด เพื่อให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในเรื่อง ต่างๆ เช่น ขนบประเพณี งานอดิเรก กีฬา ข่าว ปัญหาสังคม เป็นต้น ให้มีทักษะในการอ่านโดยใช้เทคนิคการอ่านขั้น สูงขึ้น เช่น การอ่านเพื่อหาหัวข้อเรื่อง การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญและรายละเอียด ให้สามารถเขียนสรุปความ เพื่อรายงานข้อความที่อ่านและให้มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ตรงกับสาขาการบริหารการศึกษา จาก แหล่งข้อมูลสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้โดยเน้นทักษะการอ่าน การเขียนและการสืบค้น
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เพื่อ แสวงหาความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ในสังคมยุค ตัวเลข (digital society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) เรียนรู้ สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูล สารสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการ จัดการเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการแสวงหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและการเรียนรู้สังคมยุคข่าวสารสารข้อมูล เพื่อแสวงหาความรู้และตอบสนองความต้องการที่มีผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ ของมนุษย์ในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม การศึกษารวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลและใช้งาน ฐานข้อมูลสนเทศ (database management) การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศบนระบบและเครือข่าย คอมพิวเตอร์ (Computer and networking) การใช้ระบบมัลติมีเดีย ระบบ Video On Demand ระบบ Virtual Reality เป็นต้น เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลได้อย่าง คล่องแคล่ว
ศึกษาความสําคัญของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย ประเภทของการ วิจัยทางการศึกษา ขั้นตอนการวิจัย การวางแผนการวิจัย การฝึกปฏิบัติ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การ วิจารณ์ผลงานวิจัย การใช้ผลงานวิจัย วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยเน้นสภาพปัญหา กรอบแนวความคิด สมมติฐาน ระเบียบวิธีวิจัยการบริหารงานของรัฐและการจัดการของเอกชนและศึกษาวิเคราะห์ผลวิจัยที่มีอยู่แล้ว ศึกษาแนวคิดกระบวนการวิจัยแนวประจักษ์ โดยครอบคลุมปรัชญาพื้นฐาน เป้าหมายของการวิจัย การสร้างทฤษฎี การกําหนดสมมติฐาน การออกแบบวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูลการสุ่มตัวอย่างและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ตรรกะและเชิงสถิติการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัย โดยเน้นวิธีการดําเนินการทางสถิติในการประมวลผลและการ วิเคราะห์แปรผลการวิจัย ศึกษากระบวนการวัดและประเมินผล เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางด้านการศึกษา และการบริหาร
ศึกษาวิเคราะห์ แนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นํา ประเภทของผู้นํา คุณลักษณะที่ดีของผู้นํา การ สร้างมนุษย์สัมพันธ์ แรงจูงใจ ขวัญและกําลังใจ การสื่อสาร และการพัฒนาภาวะผู้นําในการบริหารการศึกษา โดย สร้างเสริมผู้เรียนให้มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้บริหารด้วยอุดมการณ์ที่ถูกต้อง และการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ผู้นําการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้นํา การบริหารความเสี่ยงและความ ขัดแย้ง การปฏิสัมพันธ์และการพัฒนาเพื่อนร่วมงาน การบริหารงานแบบระบบเครือข่าย ศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม และจริยธรรมของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาแลวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักจริยธรรม คุณธรรมมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษาการศึกษาตามประกาศของ คุรุสภา ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยธรรมกับจรรยาบรรณวิชาชีพตามที่คุรุสภากําหนด ศึกษาสภาพแวดล้อมทาง สังคมที่มีผลกระทบหรือมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมของผู้บริหารการศึกษา การป้องกันแก้ไข การ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และมีการบริหารจัดการที่ดี การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาและการ บริหารการศึกษาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ กระบวนการและหน้าที่ในการการบริหารสถานศึกษาและบริหาร การศึกษา กระบวนการบริหารการศึกษายุคใหม่ การบริหารงานวิชาการเพื่อคุณภาพและความเป็นเลิศ ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ศึกษาการจัดการความรู้เกี่ยวกับการ บริหารสถานศึกษาและการจัดการความรู้เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา สามารถเลือกใช้ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และกระบวนการบริหารให้สอดคล้องกับบริบทระดับมหภาคและภูมิสังคม ศึกษาการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารและการเรียนรู้ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
ศึกษาความหมายและความสําคัญของการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน กระบวนการ จัดการเรียนและการสอนเสริม ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนักเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้เรียนให้รู้จักการจัดการและคิดเป็น เรียนรู้การบริหารจัดการที่ทําให้เกิดการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน การ พัฒนาศักยภาพผู้เรียน การบริหารจัดการในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การสอนเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง รูปแบบ เทคนิคและวิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวางแผนการสอน การฝึกปฏิบัติการสอน หลักการและเทคนิคการวัดและ ประเมินผลการศึกษา การสร้างและใช้เครื่องมือ การวัดและประเมินผลการศึกษา การประเมินตามสภาพจริง การ ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน การประเมินภาคปฏิบัติ การประเมินผลย่อยและการประเมินผลรวม การประเมินผล หลักสูตร การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการพัฒนาจัดการเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรและหลักสูตร สถานศึกษา การใช้สถิติเพื่อการวัดและประเมินผลการศึกษา
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานขององค์การ ประเภทขององค์การ การวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีขององค์การ ทางการศึกษาในระดับการศึกษาต่างๆ โครงสร้างรูปแบบ และการจัดหน่วยงานทางการศึกษา ความเชื่อมโยงของ หน่วยงานกับระบบอื่นๆ ของสังคมค่านิยมและวัฒนธรรม และพฤติกรรมองค์การทางการศึกษา การจัดองค์การ ศึกษาในยุคใหม่ แนวคิดทฤษฎีหลักการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาการ บริหารองค์การ สํานักงานและองค์คณะบุคคล การบริหารบุคคล การบริหารงานธุรการ การเงินงบประมาณ การ พัสดุ ครุภัณฑ์ทางการศึกษและอาคารสถานที่ รวมทั้งบริหารแหล่งการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สถานศึกษากับชุมชนและท้องถิ่น
ศึกษาการจัดระบบงานและการบริหารงานวิชาการกระบวนการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ การ พัฒนาหลักสูตรและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน การจัดแหล่งเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนโดยยึด ผู้เรียนเป็นสําคัญและการนําภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ ศึกษาการพัฒนาวิชาชีพทางการบริหารจากการทํางานวิจัย การศึกษาหลักการและความสําคัญของ การประกันคุณภาพการศึกษาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในและภายนอกสถานศึกษา การจัดระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาปัญหา เกี่ยวกับการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับต่างๆ วิเคราะห์หลักการทฤษฎีและกระบวนการ หลักการและกระบวนการในการประกันคุณภาพ การศึกษาองค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพ การศึกษา ความสัมพันธ์ของการประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถาน ศึกษา การประเมินมาตรฐานการศึกษา ตัวชี้วัดการประเมิน การจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา การประเมินผล การกํากับและติดตามการประกัน คุณภาพการศึกษา ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้บริหารในการประกัน คุณภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพื่อการบริหารจัดการและเพื่อจัดการเรียนรู้โดย อาศัยหลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล ทั้งด้วยเครื่องหรือด้วยมือ การวิเคราะห์ระบบข้อมูลและการพัฒนา ระบบข้อมูลที่มีให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนทางเทคนิคและการ ควบคุมจัดการรวมถึงการสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์และการกําหนดนโยบายของผู้บริหารและเพิ่มคุณภาพทาง การศึกษาทั้งในรูปของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นําความรู้ด้านระบบสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาและการจัดการศึกษาในแนวทางใหม่ๆ รวมถึงนําไปใช้ในการพัฒนาครูในการนําไปใช้เป็นสื่อการสอน
ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิดและกระบวนการกําหนดนโยบายและการวางแผนการศึกษา การ วิเคราะห์นโยบายการศึกษา การนํานโยบายและแผนการปฏิบัติ องค์ประกอบเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ สังคมและ การเมืองที่เกี่ยวกับการวางแผนการศึกษา หลักการกระบวนการและเทคนิควิธีต่าง ๆในการวางแผนรวมถึงการ ระดมทรัพยากรต่างๆ เพื่อการศึกษา ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ศึกษาการวางแผน พัฒนาการศึกษา การนําแผนไปปฏิบัติ ติดตามและประเมินผล ศึกษาการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาและการบริหารการศึกษา การสร้างเครือข่ายทางการศึกษาและการ บริหารงานระบบเครือข่าย ศึกษาการจัดทําแผนปฏิบัติการนิเทศการศึกษา โครงการ และการนําสู่การปฏิบัติการ นิเทศเพื่อพัฒนาครูให้จัดการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เติบโตได้ตามศักยภาพ
พัฒนาการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ มีความรู้ด้านการจัดการเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา มีภาวะผู้นํา ทางการบริหารการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย งานวิชาการ งานธุรการ งานการเงิน งานกิจการเรียน งานบุคลากร และงานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน พัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การระดมทรัพยากร และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาแนวคิดการบริหารงานบุคคล พัฒนาสภาพการวิเคราะห์องค์การ และการทําแผนกลยุทธ์ในการพัฒนางานหลักการธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและวัฒนธรรมคุณภาพภายใน องค์การหรือสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นํา กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ กิจกรรมประชุมสัมมนาและนิเทศการศึกษา สร้างเสริมจิตวิญญาณ และ อุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
ศึกษาหลักการ นโยบายการวางแผนและการจัดระบบการบริหารกิจการนักเรียน การส่งเสริมและ เสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นํา การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดี การปลูกฝังความรู้และ ความคิดที่ดีงาม การจัดสวัสดิการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ การจัดองค์การนักเรียน เช่น ชมรมต่างๆ เพื่อ พัฒนาประสบการณ์ การเรียนรู้และความเจริญงอกงามของนักเรียนในด้าน ทักษะ ความรู้ ความสามารถและ ศักยภาพสูงสุด การเรียนรู้ด้านการบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนักเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพและ การเรียนรู้การดูแลผู้เรียนให้รู้จักการจัดการและคิดเป็น
ศึกษาการนิเทศการศึกษา วิเคราะห์หลักการ ทฤษฎี รูปแบบ เทคนิค วิธีการ ยุทธศาสตร์ในการ นิเทศการศึกษา การนิเทศด้านการบริหารการเรียนการสอน กระบวนการปฏิบัติงานและการประเมินผลโครงการ ศึกษาบทบาท หน้าที่ ทักษะและพฤติกรรมของผู้ทําหน้าที่นิเทศการศึกษา ตลอดจนศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของเทคนิค วิธีการนิเทศการศึกษา การนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้จัดการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เติบโตเต็มศักยภาพ ให้ จัดการเรียนรู้ของศึกษาสภาพงาน คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ทักษะการแสวงหาความรู้ใน บริบทของการเปลี่ยนแปลงการทําแผนโครงการ และการประเมินโครงการนิเทศการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ ผลการวิจัย มาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนเพื่อการนิเทศการศึกษา
ศึกษาวิเคราะห์หลักการและทฤษฎี กระบวนการ และทักษะสําคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สถาบันการศึกษากับชุมชนและท้องถิ่น โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ โดยการให้บริการทางการศึกษาและการอาชีพ การร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษาการสร้างปฏิสัมพันธ์และการพัฒนาเพื่อนร่วมงาน มีการพัฒนาชุมชนตาม ศักยภาพ โดยเฉพาะการนําศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา มีการศึกษาวิเคราะห์ ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้หลักการประชาสัมพันธ์และนํามาใช้พัฒนาองค์การและชุมชนที่ตั้งของสถานศึกษา
ศึกษาวิเคราะห์หลักการและกระบวนการสัมมนาเพื่อการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหา เลือกหัวข้อ หรือปัญหาด้านภาวะผู้นําและการบริหารการศึกษา ในการสัมมนาและอภิปรายประเด็นปัญหาที่สําคัญและ น่าสนใจเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการและการปฏิบัติในการบริหารการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา และ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการทํางาน เป็นกลุ่มในการ เรียนรู้และการแก้ปัญหาการเรียนรู้การเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และการพัฒนาเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนผลงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องเพื่อนําไปสู่ประเด็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อเสนอเป็นวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาแนวคิดทางการศึกษา ทฤษฎีหลักสูตร ศึกษาวิเคราะห์หลักการ ทฤษฎีและ กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรการบริหารหลักสูตร การประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้การเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ การศึกษาและการสังเคราะห์ผลการวิจัยด้านหลักสูตรและการสอน เพื่อนําแนวคิดไป ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมไทย
ศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาสําหรับผู้บริหาร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการประสานงานและการเสริมสร้างแรงจูงใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้น สภาวะทางจิตวิทยาและทางสังคม การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้กรณีศึกษาและการใช้กระบวนการ กลุ่มเทคนิคและยุทธศาสตร์ในการลดความขัดแย้งและการแก้ปัญหา
ศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ การคิดอย่างเป็นระบบ ภาวะผู้นําทางการศึกษา การทํางาน เป็นทีม การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร การติดต่อสื่อสารในองค์กร การจัดระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในโรงเรียน การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนา นักเรียนและสถานศึกษารวมทั้งการพัฒนาชุมชน วิเคราะห์ ปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวนโยบายและจุดมุ่งหมาย ในการจัดการศึกษานอกระบบบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่การศึกษาทุกระดับ เน้นหลักการบริหาร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนิเทศงานในการจัดการศึกษานอกระบบ สนับสนุนการบริหารและจัด การศึกษานอกระบบของท้องถิ่นปัญหาและแนวโน้มในการจัดการศึกษานอกระบบ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา นอกระบบให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ศึกษา วิเคราะห์แนวปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการศึกษาทุกประเภท และทุกระดับการศึกษาที่อยู่ในความดูแลของ กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการศึกษาอื่นๆ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่าด้วย กฎระเบียบข้อบังคับและคําสั่งต่างๆ เป็นต้น ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงาน การศึกษาอื่นๆ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษา ศึกษากรณีตัวอย่างการใช้กฎหมาย ทางการศึกษา
ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีศึกษาวิเคราะห์ กระบวนการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่าง องค์กรในการจัดการศึกษา องค์กรปกครอง ภาครัฐและเอกชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและบุคคล เทคนิควิธีในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมด้านการวางแผน กระบวนการในการจัดการศึกษา การกําหนดยุทธศาสตร์ การประสานงาน การ ประเมินผล
ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบ บริบทด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบระบบการจัดการศึกษาและ การบริหารการศึกษาประเทศต่างๆ โดยมุ่งเน้นการจัดการการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ มีการเปรียบเทียบระบบ การบริหารจัดการการศึกษาในประเทศต่างๆ ในประเทศ Asean จากการศึกษาดูงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน การกําเนิดอาเซียน จุดประสงค์ค่าของการรวมตัวเป็น ประเทศอาเซียน นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของกฎกระทรวงศึกษาธิการและสถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อม ด้านต่างๆ เข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมความพร้อมและอบรมบุคลากรของสถานศึกษาโครงการต่างๆ ของ สถานศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
(5.1) สําหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ก แบบ ก 2 ทําวิทยานิพนธ์
วิจัยและนําเสนอผลการวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาสาระทางด้านการบริหารการศึกษาหรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารศึกษา โดยให้เสนอวิทยานิพนธ์ตามระเบียบและขั้นตอนที่มหาวิทยาลัยกําหนด ภายใต้การ ควบคุมดูแล แนะนําของอาจารย์ที่ปรึกษา
(5.2) สําหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ข ไม่ทําวิทยานิพนธ์
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในประเด็นหรือปัญหาทางการบริหารการศึกษา หรือประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับ การบริหารการศึกษา โดยมีรูปแบบที่มีมาตรฐานทางวิชาการและภายใต้การกํากับดูแล และแนะนําอย่างใกล้ชิด จากอาจารย์ที่ปรึกษา นําเสนอรายงานตามขั้นตอนและรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกําหนด
ความประทับใจที่สุดประการแรก คือคณาจารย์ทุกท่านกับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทางด้านการบริหารการศึกษา ตลอดจนให้คำชี้แนะแนวทางอันเกิดประโยชน์ต่อการบริหารอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างที่งดงามให้กับนิสิตได้ปฏิบัติและดำเนินรอยตามคณาจารย์ทุกท่าน ความประทับใจอีกประการหนึ่งคือทางมหาวิทยาลัยมีรูปแบบการเรียนการสอนที่เอื้อต่อบุคคลทำงานให้สามารถเรียนรู้และหาประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี ยอดเยี่ยม
ความรู้สึกและความประทับใจที่ได้เข้ามาศึกษาต่อหลักสูตรการบริหารการศึกษาในมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม ได้เรียนรู้ในทุกรูปแบบ เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดูแลแบบครอบครัว ทั้งคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยม จึงส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ ในระดับประเทศเป็นจำนวนมาก
Line Official ID : @western.md
โทร 02-0266659 (ส่วนงานบริการข่าว)