หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นหลักสูตรมุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิศวกรรมสำรวจ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีทักษะในการคิดการวิเคราะห์และการสื่อสาร สามารถนำวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถพัฒนา ศึกษา วิจัย และเผยแพร่ความรู้ มีความคิดริเริ่ม สามารถบูรณาการความรู้ นำมาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมสำรวจและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ
Engineering is a Creative Practice
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นหลักสูตรมุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิศวกรรมสำรวจ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีทักษะในการคิดการวิเคราะห์และการสื่อสาร สามารถนำวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถพัฒนา ศึกษา วิจัย และเผยแพร่ความรู้ มีความคิดริเริ่ม สามารถบูรณาการความรู้ นำมาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมสำรวจและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ
ปี
4 ปีการศึกษา
ศูนย์การศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
สภามหาวิทยาลัยและกระทรวง
อุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/
รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 4,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร | บาท | |
กรณีสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปลาย,ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | 280,000 | บาท | |
กรณีสำเร็จการศึกษาระดับวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี สาขาสำรวจ ก่อสร้าง โยธา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง | 180,000 | บาท | |
กรณีสำเร็จการศึกษาระดับวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี สาขาวิชาอื่นๆ | 210,000 | บาท | |
รวมทั้งหมด | บาท | ||
กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปลาย,ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | 284,000 | บาท | |
กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี สาขาสำรวจ ก่อสร้าง โยธา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง | 184,000 | บาท | |
กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี สาขาวิชาอื่นๆ | 214,000 | บาท |
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้กำหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีการศึกษาละ 70,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกินปีการศึกษาละ 36,000 บาท
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
1. สมัครด้วยตัวเองที่ สำนักประชาสัมพันธ์และรับสมัคร มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
2. สมัครออนไลน์ ได้ที่ www.western.ac.th
วิธีสมัครเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
https://xregis.western.ac.th/index_enroll.html#/enroll
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
| หลักสูตร | |||
---|---|---|---|---|
(1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต |
(1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
| 9 | หน่วยกิต | ||
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา
| 15 | หน่วยกิต | ||
(1.3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | ||
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 96 | หน่วยกิต |
(2.1) กลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน | 37 | หน่วยกิต | ||
(2.1.1 )รายวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 21 | หน่วยกิต | ||
(2.1.1) รายวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม | 16 | หน่วยกิต | ||
(2.1.2) รายวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม | 16 | หน่วยกิต | ||
(2.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | ไม่น้อยกว่า | 52 | หน่วยกิต | |
(2.2.1) รายวิชาบังคับ | 46 | หน่วยกิต | ||
(2.2.2) รายวิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
(2.3) กลุ่มวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพ | ไม่น้อยกว่า | 7 | หน่วยกิต | |
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต |
จํานวนหน่วยกิตรวมตลอด | ไม่น้อยกว่า | 132 | หน่วยกิต | |
หมายเหตุ กรณีผู้เข้าศึกษาที่สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า จะได้รับการยกเว้นรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต | หน่วยกิต |
ให้นิสิตเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะฯ
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและ สังคมไทยเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นการศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความ สัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริง ศาสนา ภูมิปัญญาไทย และท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมสิทธิมนุษยชนผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างพลังอํานาจ แห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลักธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมทาง การเมือง การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยคํานึงถึงด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางาน ร่วมกับผู้อื่น มนุษย์สัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะ ผู้นํา ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิต บทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติ ตนได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนิน ควบคู่ไปกับจริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่ง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดําเนินชีวิตและการแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิต ปรัชญาชีวิต วิเคราะห์ หาเหตุผลในการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนา เปรียบเทียบ สามารถนําหลักคําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งศึกษาการก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความสมเหตุสมผล ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มีประสิทธิภาพในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้น ทักษะการเขียนที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและ การศึกษาในระดับสูงต่อไป
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคใน ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูปควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาว และการจับใจความ นิสิตจะได้รับการฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
วิชาบังคับก่อน : EN1001 ภาษาอังกฤษ 1
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ ขั้นสูงพร้อมทั้งเน้นฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่มฝึกทักษะ ทางด้านการฟังและการพูดประโยคและบทสนทนาสั้นๆ จากสิ่งที่ได้เรียนมา
วิชาบังคับก่อน : EN1002 ภาษาอังกฤษ 2
ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิง วิชาการและการสื่อสารแบบต่างๆ ของวงการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับ ข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่ สลับซับซ้อนขึ้นและคําศัพท์ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียน ซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกให้เขียนข้อความ สั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องใน สถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและ เศรษฐกิจ รวมถึงการเรียนรู้สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาสต่างๆ เช่น การทักทาย การพูดทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์เพื่อเข้าทํางาน การเล่าเรื่องสั้นๆ
วิชาบังคับก่อน : EN2003 ภาษาอังกฤษ 3
ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนและปัญหาในการเขียนภาษาอังกฤษของคนไทย ตลอดจนแนวทางแก้ไขการ เขียน และการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนสํานวนที่ถูกต้องของภาษาทั้งในด้านตรรกวิทยา ความเชื่อถือได้อย่างมี หลักเกณฑ์ โดยเน้นทางด้านธุรกิจและชีวิตประจําวันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีกทั้งยังศึกษาความหมายที่ลึกซึ้ง สามารถ ติดต่องานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสําเร็จ นอกจากนี้ยังฝึกฝนทักษะในการเขียนข้อมูลส่วนตัว การ เขียนใบสมัครเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิค การเขียนรายงาน และการเขียนจดหมายติดต่อ ภาษาอังกฤษ รวมถึงการศึกษาหลักการจดข้อความและฝึกการเขียนบันทึกข้อความที่ใช้ในวงการธุรกิจทั่วไปและ คําบรรยายทั้งจากการฟัง การพูด และการอ่าน พร้อมทั้งฝึกเขียนย่อความ รวมทั้งเน้นฝึกฝนทักษะในการอ่าน สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ การเขียนจดหมายสั่งซื้อ รวมถึงการเขียนสรุป การสัมภาษณ์ การรายงานปากเปล่าจากรายงานที่ สรุปจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ และการสนทนาทางธุรกิจในหัวข้อต่างๆ าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
6 หน่วยกิต ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะฯ
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศเพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอนการค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ การอ่าน และการจดบันทึกข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียงรายงานวิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิง รวมถึงจริยธรรมของผู้ใช้สารสนเทศ
สถิติพื้นฐาน ระเบียบวิธีการทางสถิติเพื่อนําไปใช้ในการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงความถี่ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและพัฒนาการ ความคิดทางคณิตศาสตร์ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจําวัน การ คํานวณพื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน การนําวิธีพื้นฐานมาใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนําหลักการทาง คณิตศาสตร์มาประยุกต์ ได้แก่ เซต สมการ สถิติเบื้องต้น การแจกแจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐานและความมีนัยสําคัญ การถดถอย สหสัมพันธ์ คณิตศาสตร์การเงิน และการ คํานวณภาษีเงินได้
ให้นิสิตเลือกเรียนจากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบขอ คณะกรรมการ บริหารหลักสูตรหรือคณบดี
ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชันลิมิตความต่อเนื่องอนุพันธ์การหาอนุพันธุ์ การหาอนุพันธุ์หลายตัวแปร กฎลูกโซ่ ความชันค่าสูงสุด-ค่าต่ําสุด การประยุกต์อนุพันธ์รูปแบบไม่กําหนด การอินติเกรต และการประยุกต์เทคนิค การอินติเกรติ
วิชาบังคับก่อน : SE1101 แคลคูลัส 1
ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชันค่าจริงของหลายตัวแปร อนุพันธ์ย่อย กฎลูกโซ่ และการประยุกต์การหา อนุพันธ์และการอินติเกรตของฟังก์ชัน ค่าเวคเตอร์เรขาคณิต วิเคราะห์สามมิติ (เส้นระนาบและพื้นผิว) ระบบพิกัด เชิง ขั้ว การอินติเกรตสองชั้นและสามชั้น แนะนําเกี่ยวกับอินทิกรัลเชิงเส้นลําดับและอนุกรม
ศึกษาเกี่ยวกับปริมาณหลักมูล ระบบหน่วยในระบบ SI มิติและการวิเคราะห์ มิติการวัดและความ คลาดเคลื่อน พีชคณิตเวกเตอร์ จลนศาสตร์ของอนุภาค จลนพลศาสตร์ของอนุภาคงานและพลังงานกล โมเมนตัม ระบบอนุภาควัตถุเกร็งสถิตศาสตร์เบื้องต้น ความยืดหยุ่น การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก กลศาสตร์ของของไหล ความ ร้อนและเทอร์โมไดนามิกส์ โดยการสอนจะมุ่งไปที่การสร้างหลักการที่สําคัญทางฟิสิกส์ รวมถึงการสร้างทักษะในการ วิเคราะห์และคํานวณแก้ปัญหามาตรฐาน
วิชาบังคับก่อน :SE1103 ฟิสิกส์ 1
ศึกษาเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต ประจุไฟฟ้า กฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า ฟลักซ์ไฟฟ้า กฏของเกาส์ พลังงาน ศักย์ ไฟฟ้าศักย์ ไฟฟ้าความต่างศักย์ไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ ความจุไฟฟ้า ไดอิเลคตริก สนาม E และสนาม D ไฟฟ้า กระแส ไฟฟ้ากระแสตรง ตัวนําไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า วงจรไฟฟ้ากระแสตรง วงจร RC กระแสตรง สนามแม่เหล็กที่ เกิดจากกระแสไฟฟ้า กระแสตรงไหลผ่านเส้นลวด แรงแม่เหล็ก การเหนี่ยวนําแม่เหล็กไฟฟ้า วัสดุแม่เหล็กสนาม B และ Hฮิสเทรีซีสวงจร R-L, วงจรL-C และวงจร R-L-C กระแสตรง แหล่งกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรไฟฟ้า กระแสสลับที่ประกอบด้วย RL และ C หม้อแปลงไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสารกึ่งตัวนําไดโอดและทรานซิสเตอร์ คลื่น กลเสียงทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต ทัศนศาสตร์เชิงกายภาพและทัศนอุปกรณ์และฟิสิกส์ยุคใหม่ โดยการสอนมุ่ง ไปที่การสร้างหลักการที่สําคัญทางฟิสิกส์ รวมถึงการสร้างทักษะในการวิเคราะห์และคํานวณแก้ปัญหามาตรฐาน
ศึกษาเกี่ยวกับปริมาณมวลสารสัมพันธ์และหลักอ้างอิงเกี่ยวกับทฤษฎีของอะตอมและโครงสร้าง สมบัติของก๊าซของเหลวของแข็งและสารละลาย สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก และสมดุลกรด-เบส จลนศาสตร์เคมี โครงสร้างทางไฟฟ้าเคมีของอะตอม พันธะเคมี สมบัติของธาตุ ตามตารางธาตุรีพรีเซนเตที่ฟอโลหะและโลหะทราน ซิชันและไฟฟ้าเคมี
วิชาบังคับก่อน : SE1102 แคลคูลัส 2 ศึกษาเกี่ยวกับอนุกรมเทเลอร์และแมคคลอริน อนุกรมฟูเรียร์ การแก้ระบบสมการเชิงเส้น อินทิกรัล ไม่ตรงแบบการแปลงลาปลาซ สมการเชิงอนุพันธ์ และการประยุกต์เบื้องต้น การหาอนุพันธ์และอินทิเกรต โดยวิธี วิเคราะห์เชิงตัวเลข การประมาณค่าโดยอาศัยเส้นตรงสมการถดถอยและสหสัมพันธ์
ศึกษาการเขียนตัวหนังสือและตัวเลข ภาษาภาพ การสื่อสารด้วยแบบ การเขียนภาพร่างด้วยมือ การ วาดภาพเรขาคณิต ออโธกราฟฟิคโปรเจคชั่นการเขียนภาพออโธกราฟฟิคและการเขียนภาพรูปทรง การกําหนดขนาด และความคลาดเคลื่อนยินยอม ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่ การเขียนแบบรายละเอียดและการเขียนแบบประกอบ แบบมาตรฐาน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
ศึกษาแนวคิดของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ แนวคิดในการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบ และระเบียบวิธีการพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมภาษาระดับสูง
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างคุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้งานของ กลุ่มวัสดุวิศวกรรมหลัก เช่น โลหะ พอลิมอร์ เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ แผนภูมิสมดุลเฟสและการแปล ความหมาย คุณสมบัติทางกลและการเสื่อมสภาพของวัตถุ
ศึกษาแนวคิดและหลักการพื้นฐานของสถิตยศาสตร์ระบบแรงแรงลัพธ์ สภาวะสมดุล แผนภาพวัตถุ อิสระ การวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้น ความเสียดทาน จุดศูนย์ถ่วง งานสมมติ เสถียรภาพ
ศึกษาหลักการสํารวจและการทําแผนที่ ทฤษฎีของการรังวัดและความคลาดเคลื่อนในการรังวัด พื้นฐานการวัดในงานสํารวจ การวัดระยะทางและทิศทาง(มุม) กล้องวัดมุมธีโอโดไลท์และกล้องสํารวจประมวล ผลรวม (Total Station) งานวงรอบและการคํานวณ การวัดระยะดิ่ง การระดับและระดับตรีโกณมิติ เส้นชั้นความสูง กระบวนการจัดทําแผนที่ภูมิประเทศ การรังวัดควบคุมและการสํารวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ การเขียนแผนที่ ภูมิประเทศ ความถูกต้องของแผนที่ ข้อกําหนดมาตรฐานของชั้นงาน งานรูปตัดทางยาวและตามขวาง พื้นที่และ ปริมาตร ฝึกปฏิบัติการนับก้าววัดระยะ การวัดระยะทางด้วยแถบวัดระยะ การวัดระยะด้วยเครื่องมือวัดระยะ อิเล็กทรอนิกส์ การวัดทิศทางด้วยกล้องธีโอโดไลท์การรังวัดค่าต่างระดับด้วยกล้องระดับและไม้เล็งระดับ การระดับ ตรีโกณมิติ การหาค่าระดับสูงแบบรูปตัดตามขวางและแบบทางยาว การสํารวจงานวงรอบเพื่อการควบคุมการ สํารวจเก็บรายละเอียดข้อมูลภูมิประเทศด้วยกล้องสํารวจชนิดต่างๆ
ศึกษาสัณฐานและระบบพิกัดของโลก วัตถุประสงค์และการฉายแผนที่ ประเภทของเส้นโครงแผนที่ สูตรการฉายแผนที่ ทฤษฎีความเพี้ยนและวงรีความเพี้ยน เส้นโครงแผนที่พื้นฐาน การสร้างเส้นโครงการวิเคราะห์ การฉายแผนที่และการเลือกใช้สเกลแฟคเตอร์(Scale Factor) ระบบพิกัดฉากยูทีเอ็ม(UTM)และยูพีเอส (UPS) การทอน ค่ารังวัดสู่ระนาบแผนที่
ศึกษาความน่าจะเป็น ฟังก์ชันตัวแปรสุ่ม การแจกแจงแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง ทฤษฎีประมาณค่า การทดสอบสมมุติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนเบื้องต้นตรีโกณมิติทรงกลม ระบบสมการเชิงเส้น พีชคณิต แมทริกซ์ การแปลงระบบพิกัดอนุกรมเทเลอร์ หลักการลีสซ์สแควร์ วิธีเชิงเลขประยุกต์และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนเบื้องต้น
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์สําหรับงานสํารวจ ขั้นตอนวิธีทางคณิตศาสตร์ การจัดการไฟล์ข้อมูล การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับการคํานวณงานสํารวจ การนําเข้าและส่งออกข้อมูล การออกแบบรายงานการประมวลผลข้อมูล าพ
ศึกษาความหมาย ประวัติและวิวัฒนาการของยีออเดซี่ ทฤษฎีภูมิสัญฐานและสนามแรงโน้มถ่วงของ โลก คุณสมบัติทางเรขาคณิตของทรงรี การคํานวณบนทรงรีอ้างอิง พื้นหลักฐานอ้างอิงยีออเดติค ระบบพิกัด ยีออเดติค ระบบพิกัดระนาบจากการฉายเส้นโครงแผนที่ การแปลงพิกัด ยีออเดติคเป็นพิกัดระนาบ UTM งานรังวัด ทางดาราศาสตร์ปฏิบัติเบื้องต้น
ศึกษางานโครงการวิศวกรรม รายละเอียด ความถูกต้องและข้อกําหนด การวางแผนและการกําหนด ขั้นตอนสําหรับการรังวัดเพื่อการก่อสร้างของงานโครงการวิศวกรรมต่างๆ การรังวัดเพื่อการก่อสร้าง การรังวัดเพื่อ การอุทกศาสตร์ การรังวัดเส้นทาง และการรังวัดใต้ดิน
ศึกษาเกี่ยวกับที่ดินและการใช้ที่ดิน การบริหารจัดการที่ดิน กรรมสิทธิ์ที่ดินและสภาพการถือครอง การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน หลักกฎหมายในการกําหนดแนวเขตที่ดิน การได้มาและสอบแนวเขต กฎหมาย ที่เกี่ยวกับการรังวัดและการรังวัดแนวเขตที่ดินของช่างสํารวจ การจัดทําเอกสารสิทธิ ถือครองที่ดินในรูปของการ บรรยายและแผนภาพระบบการจัดเก็บเอกสารสิทธิ์ ระบบกริดที่ดิน การแปลงระบบพิกัดสําหรับงานที่ดิน สิทธิและ ขั้นตอนในการแบ่งแปลงที่ดิน การประยุกต์การสํารวจจากภาพถ่ายทางอากาศกับงานแผนที่ที่ดิน งานรังวัดที่ดินโดย ระบบโครงข่ายการรังวัดดาวเทียม GNSS แบบจลน์ (RTK GNSS Network)
ศึกษาหลักการสํารวจทางยีออเดติกและการวางโครงข่ายงานควบคุม (Control Network) เครื่องมือ สํารวจทางยีออเดติดพื้นฐานและเทคโนโลยีของเครื่องมือสํารวจอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มาตรฐานและคุณลักษณะ เฉพาะในงานสํารวจวางหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่ง (งานชั้นที่ 3) งานรังวัดทางดาราศาสตร์ เพื่อคํานวณหา แอซิมัท ละติจูด และลองติจูด ดาราศาสตร์ และฝึกปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
ศึกษาวิวัฒนาการของโฟโตแกรมเมตรี หลักเบื้องต้นของการถ่ายภาพทางอากาศ กล้องถ่ายภาพทาง อากาศ การวางแผนการบินถ่ายภาพทางอากาศ เรขาคณิตและรังวัดภาพเดี่ยว การมองเห็นสามมิติ และระยะเหลื่อม การดัดแก้และการต่อผนึกภาพถ่ายทางอากาศ การแปลภาพถ่ายทางอากาศ การใช้เครื่องมือเขียนแผนที่ หลัก เบื้องต้นของการจัดภาพ ประวัติของการรับรู้จากระยะไกล ทฤษฎีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ดาวเทียม ระบบเครื่องรับรู้และข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกล การแปลตีความและประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียม การประยุกต์ใช้ข้อมูล จากดาวเทียม
ศึกษามโนทัศน์ทางสถิติ คุณสมบัติของค่าจากการรังวัด หลักการและเทคนิคการแพร่ของความ คลาดเคลื่อน ทฤษฎีการปรับแก้ เทคนิคในการปรับแก้ด้วยลีสท์สแควร์ วงรีความคลาดเคลื่อน การวิเคราะห์ผลการ ปรับแก้ การประยุกต์การปรับแก้ในงานวิศวกรรมสํารวจ
ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของยีออเดซีดาวเทียม กฎการเคลื่อนที่ของเคปเลอร์ ระบบดาวเทียม สําหรับการสํารวจและวงโคจรของดาวเทียม หลักการขั้นพื้นฐานในการกําหนดตําแหน่งด้วยดาวเทียม GPS/GNSS เทคนิคการกําหนดตําแหน่งแบบสมบูรณ์ และแบบสัมพัทธ์ ความคลาดเคลื่อนในงานสํารวจดาวเทียม การวิเคราะห์ และปรับแก้ค่าความคลาดเคลื่อน การวางแผนการสํารวจด้วยดาวเทียมวิธีต่างๆ และการฝึกปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
ศึกษาทฤษฎีการจัดภาพสภาวะร่วมเส้น สภาวะร่วมระนาบ จุดบังคับภาพถ่าย การจัดภาพภายใน สัมพัทธ์และสัมบูรณ์ เครื่องเขียนแผนที่ การรังวัดข้อมูลแผนที่จากภาพถ่ายคู่ซ้อน การผลิตภาพถ่ายออร์โธการขยาย จุดบังคับภาพถ่าย การคํานวณปรับแก้ การวิเคราะห์ผลการขยายจุดบังคับภาพถ่าย และฝึกปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
ศึกษาวิวัฒนาการของการทําแผนที่ ประเภทและองค์ประกอบของแผนที่ สัณฐานและระบบพิกัดของ โลกการฉายและเส้นโครงแผนที่ ลักษณะและประเภทของข้อมูลแผนที่ การออกแบบ การประกอบ การผลิต และการ ผลิตซ้ํา แผนที่เฉพาะเรื่องการทําแผนที่ด้วยระบบเชิงเลข ความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงเลขและระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการกําหนดรหัสความถูกต้องของแผนที่ มาตรฐานของแผนที่ การวิเคราะห์ความถูกต้องของแผนที่เชิงเลข หลักการอ่านแผนที่ และฝึกปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
เตรียมเขียนโครงงานวิศวกรรมสํารวจ ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของโครงงานแนวความคิดและ ที่มาของโครงงาน วิธีดําเนินการโครงงาน การวางแผนการดําเนินงาน และงบประมาณที่ใช้ในโครงงานวิศวกรรม สํารวจ
ศึกษาความหมายและวิวัฒนาการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์ประกอบขอระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบการนําเข้าข้อมูล การจัดเก็บและการแก้ไขข้อมูล กระบวนการวิเคราะห์ เชิงพื้นที่ การประมวลผล การวิเคราะห์และการแสดงผลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การ นําเสนอข้อมูลในรูปของแผนที่ตามมาตราส่วนที่เหมาะสม ตัวอย่างการประยุกต์และการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในประเทศไทย ความรู้พื้นฐานสําหรับศึกษาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ระบบฐานข้อมูล การรับรู้จากระยะไกล ระบบพิกัด การหาพิกัดด้วยดาวเทียม GNSS และการทําแผนที่ภูมิประเทศ
ศึกษาภาพดิจิทัล ข้อมูลแบบเวกเตอร์และราสเตอร์ การบูรณะและปรับแก้ภาพ การเน้นภาพ การ ปรับคอนทราสของภาพ การปรับและใช้งานภาพหลายๆภาพ การจําแนกภาพ การวิเคราะห์โดยการใช้ฟูเรียร์ในการ ประมวลผลภาพ การวิเคราะห์ภาพไฮเปอร์สเปทรอล การวิเคราะห์ภาพเรดาห์ การสกัดหาวัตถุจากข้อมูล การรับรู้ รูปแบบ ระบบสีการประมวลผลภาพสี
โครงการหรือปฏิบัติการที่น่าสนใจในด้านต่างๆ ของสาขาวิชาวิศวกรรมสํารวจ โดยโครงร่างต้องผ่าน การพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหาร คณะฯ และต้องดําเนินโครงงานที่ได้ผ่านความเห็นชอบ แล้วภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา มีการนําเสนอโครงงาน (ปริญญานิพนธ์) สอบผ่านการสอบปากเปล่า จากคณะกรรมการที่คณะฯ แต่งตั้ง และเผยแพร่ผลงานโดยวิธีการใดวิธีหนึ่งภายในหนึ่งภาคการศึกษา
ฝึกปฏิบัติงานสํารวจภาคสนาม : การสํารวจวางหมุดหลักฐานเพื่องานควบคุมทั้งทางราบและทางดิ่ง การคํานวณงานสนาม การสํารวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศด้วยกล้องสํารวจประมวลผลรวม และการสํารวจจุด บังคับภาพถ่าย (GCP) ภายในพื้นที่ที่กําหนด การสํารวจเส้นทางและการสํารวจอื่นๆ กําหนดให้การฝึกภาคสนาม ดังกล่าวใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง การเขียนแผนที่ภูมิประเทศ รายงานผลงานสํารวจภาคสนามพร้อมนําส่ง เอกสารข้อมูลสนาม
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะฯ
ศึกษาทรงกลมฟ้า และระบบพิกัดทรงกลมฟ้า ตําแหน่งและการเคลื่อนที่ของดาว การแปรเปลี่ยนพิกัด ฟ้า ระบบเวลา ปฏิทินดาว การหาค่าแอซิมัท ละติจูดและลองติจูด ดาราศาสตร์
ศึกษาหลักการอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรังวัดด้วยอิเล็กทรอนิกส์และองค์ประกอบพื้นฐาน หลักการ สํารวจเพื่อเก็บข้อมูลระบบดิจิตอล การส่งผ่านข้อมูล การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อเขียนแผนที่ การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูล
ศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจในปัจจุบันและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านวิศวกรรมสํารวจ
ศึกษาการกําหนดตําแหน่งด้วยวิธีตรง (Direct Geo referencing: DC) การทําแผนที่จากกล้องถ่ายภาพ ทางอากาศดิจิตัล (Aerial Digital Camera) การรังวัดด้วยเลเซอร์สแกนทางอากาศ (Airborne Laser Scanner: ALS) การประมวลผลเพื่อการประยุกต์ใช้ทําแผนที่ การรังวัดด้วยระบบเลเซอร์ภาคพื้นดิน (Terrestial Laser Scanner: TLS) และการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรม การบูรณาการเทคโนโลยี การรังวัดเป็นระบบทําแผนที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System: MMS) การสํารวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ เพื่องานสํารวจรังวัดทําแผนที่ในพื้นที่ขนาดเล็ก (Mapping with Unmanned Aerial Vehicle: UAV)
ศึกษาการภาพถ่ายทางอากาศดิจิตอลและอุปกรณ์ตรวจรับภาพ การเก็บบันทึกข้อมูลและการ ประมวลผล การปรับแก้และการดัดแก้สหสัมพันธ์ของภาพดิจิตอล ระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ โปรแกรมในการ ประมวลผลและการเขียนภาพ การประมวลผลภาพดิจิตอลเบื้องต้น การผลิตภาพออร์โธโฟโตแกรมดิจิตอล แบบจําลองภูมิประเทศ (แบบจําลองระดับ) จากข้อมูลดิจิตอล การรังวัดด้วยไลดาร์ ตัวอย่างระบบที่ใช้งานในปัจจุบัน
ศึกษาหลักการสํารวจทางด้านอุทกศาสตร์ การหารูปทรงการนําร่องทางทะเล การก่อสร้างในทะเล ในแม่น้ํา และแหล่งน้ําขนาดใหญ่ การขุดลอกใต้น้ํา การสํารวจและการขุดเจาะน้ํามันและกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือสัณฐานทางกายภาพของท้องน้ํา ร่องน้ํา ชายฝั่งทะเล แม่น้ํา บึง ทะเลสาบ เป็นต้น การนําเอาข้อมูลที่ได้จากการ หยั่งลึกของท้องน้ํา (Water base) อัตราเชิงกระแสน้ํา โดยใช้เครื่องมือสํารวจสภาพท้องน้ําโดยเฉพาะ (Echo Sounder) มาจัดสร้างและจัดทําแผนภูมิประเทศท้องน้ํา เพื่อนํามาใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ
ศึกษาหลักและระบบในการประมาณราคา การประมาณราคาอย่างละเอียด การจัดทําระเบียนแสดง จํานวนราคาของวัสดุอุปกรณ์และแรงงาน การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะทางด้านเทคนิควิศวกรรมโยธา/วิศวกรรม สํารวจเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด เป็นไปตามรูปแบบ และขั้นตอนการประมูลในงานก่อสร้างหรืองาน สํารวจนั้นๆ ศึกษาข้อกําหนดของสัญญาจ้างแบบต่างๆ การทําสัญญาจ้าง การประกันภัยและขั้นตอนการดําเนินการ ตามสัญญา
ศึกษาแรงและความเค้น ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด คุณสมบัติทางกลของวัสดุ แผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด ความเค้นดัด และความเค้นเฉือนในคาน แรงบิด ความเค้นระนาบและความเครียด ระนาบ ความเค้นร่วมและความเค้นหลัก การรับแรงบิดหน่วยแรงในคานการโก่งเดาะของเสา วงกลมโมร์และหน่วย แรงผสม ทฤษฎีการวิบัติ
ศึกษาหลักการเบื้องต้นของการวิเคราะห์โครงสร้าง แรงปฏิกิริยา แรงเฉือน และโมเมนต์ดัดใน โครงสร้างดีเทอร์มิเนท วิธีสถิตศาสตร์รูปภาพ เส้นอิทธิพลสําหรับโครงสร้างดีเทอร์มิเนท การวิเคราะห์การเสียรูป ของโครงสร้างดีเทอร์มิเนทโดยวิธีงานเสมือน วิธีพลังงาน ความเครียดและวิธีแผนผังของวิลลิออท โมรไดอะแกรม การวิเคราะห์โครงสร้างอินดีเทอร์มิเนทโดยวิธีคอนซิสแตนท์ดีฟอร์มเมชั่น
ศึกษาคุณสมบัติของของไหล ของไหลสถิต จลน์ศาสตร์ของการไหล สมการต่อเนื่อง สมการพลังงาน ของการไหลแบบคงที่ โมเมนตัมและแรงเนื่องจากการไหล การวิเคราะห์มิติและการคล้ายคลึง การไหลของไหลแบบ อัดตัวไม่ได้ในท่อ การไหลในทางน้ําเปิด การวัดค่าต่างจากการไหล การไหลไม่คงที่ของของไหล การศึกษาพฤติกรรม ของของไหลภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ในเชิงสถิตและเชิงพลวัตของการไหลในท่อและการไหลในทางน้ําเปิด ได้แก่ จุดศูนย์กลางของความดัน จุดศูนย์เสถียรแรงที่ลําของไหลกระทําต่อวัตถุ มาตรเวนจูรี การไหลผ่านช่องเปิดขอบคม การไหลข้ามฝายสันคม การทดลองของเรโนลด์ การสูญเสียพลังงานของการไหลในท่อ
กําเนิดของดิน ดัชนีคุณสมบัติของดิน การจําแนกดิน การสํารวจดิน การบดอัด การซึมผ่านและ ปัญหาการไหลของน้ําใต้ดิน ทฤษฎีความเค้นประสิทธิผลในดิน การกระจายความเค้นในดิน ทฤษฎีการอัดตัวของดิน กําลังแรงเฉือนของดิน ทฤษฎีแรงดันดินเสถียรภาพความลาดของดิน ทฤษฎีกําลังแรงแบกทานของดิน การศึกษา คุณสมบัติด้านกายภาพและวิศวกรรมของดิน การหาความถ่วงจําเพาะของเม็ดดินการวิเคราะห์ขนาดเม็ดดินโดย ตะแกรง การวิเคราะห์ขนาดเม็ดดินโดยไฮโดรมิเตอร์ การหาพิกัดความข้นเหลวและพิกัดพลาสติก การหาความซึม ผ่านได้แบบความดันคงที่ การทดสอบความซึมผ่านได้แบบความดันแปรเปลี่ยน การหาพิกัดการหดตัว การทดสอบ การบดอัด การทดสอบการอัดตัวคายน้ําในทิศทางเดียว การทดสอบหากําลังเฉือนโดยตรง การทดสอบกําลังอัตรา ทางเดียว การกดอัดสามทาง
ศึกษาระบบการดําเนินงานโครงการ การจัดองค์กรบริหารโครงการการเตรียมสถานที่ก่อสร้าง การ วางแผนงานก่อสร้างโดยวิธีเพิร์ทและซีพีเอ็ม การบริหารทรัพยากรในโครงการ การวัดความก้าวหน้าของโครงการ ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ระบบคุณภาพ
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการสหกิจศึกษา หลักการเขียนจดหมายสมัครงาน การเลือก สถานประกอบการ หลักการสัมภาษณ์งานอาชีพ วัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาบุคลิกภาพ จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมจริยธรรม กฎหมายแรงงาน การประกันสังคม กิจการ 5 ส ระบบมาตรฐานการประกันคุณภาพและความปลอดภัยในการทํางาน การใช้งานภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงาน การนําเสนอผลงาน ทักษะการ วางแผน ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูล
ปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้วยความรับผิดชอบในงานสาขาวิชาวิศวกรรมสํารวจหรือสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง โดยต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาตามแผนการทํางานที่ได้รับมอบหมายอย่างชัดเจน และต้องมีเวลาในการ ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมงภายใน 1 ภาคการศึกษา
ความหมาย ความสําคัญ และหลักการพัฒนาบุคลิกภาพ การแต่งกายและท่าทางที่เหมาะสมใน แต่ละวัยตามโอกาสต่างๆ มารยาททางสังคม การพูดและการมีปฏิสัมพันธ์ในโอกาสต่างๆ ฝึกทักษะการพัฒนา บุคลิกภาพของตนเอง
แนวคิดพื้นฐานของกระบวนการกลุ่มและการทํางานเป็นทีม รูปแบบของอิทธิพลกลุ่มที่มีผลต่อ มนุษยสัมพันธ์ พัฒนาการของลักษณะต่างๆ ของกลุ่มบุคคล ภาวะผู้นําและสมาชิกในทีม ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริม การทํางานเป็นทีม วิเคราะห์การใช้พลวัตรกลุ่มและการนําไปใช้ในการปฏิบัติงาน
หลักการคิดและพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วยการใช้กรณีศึกษาและวิธีการอื่นๆ ในการ ฝึกทดลองกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
แนวคิดและหลักการศึกษาค้นคว้าอิสระและการเรียนรู้ ให้นิสิตเลือกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ ผู้เรียนสนใจศึกษา ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาชีพกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้เรียนเป็นผู้วางแผน ดําเนินการ และประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง