ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของประชาชนในระดับประเทศ และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนซึ่งมุ่งเน้นที่จะพัฒนาบุคลากรที่มีความรอบรู้ทั้งในด้านหลักสูตรและการสอน การพัฒนาการศึกษา เป็นต้นเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระ และมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษาได้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าผู้บริหารการศึกษา และผู้สอนในสถานศึกษาทั้งในองค์กรการศึกษาของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุดในการจัดการเรียนการสอนและการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่ดีและก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษาในการบริหารจัดการในการจัดการศึกษา ตลอดทั้งการพัฒนาองค์กรทางการศึกษาที่ตนรับผิดชอบ และมีบทบาทสำคัญในการทำในสิ่งเหล่านี้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นจึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้สอนในสถานศึกษาในปัจจุบันและผู้ต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำทางการศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านหนึ่งโดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ
“C&I มุ่งเรียนรู้ สู่ครูมืออาชีพ”
ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของประชาชนในระดับประเทศ และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนซึ่งมุ่งเน้นที่จะพัฒนาบุคลากรที่มีความรอบรู้ทั้งในด้านหลักสูตรและการสอน การพัฒนาการศึกษา เป็นต้นเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระ และมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษาได้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าผู้บริหารการศึกษา และผู้สอนในสถานศึกษาทั้งในองค์กรการศึกษาของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุดในการจัดการเรียนการสอนและการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่ดีและก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษาในการบริหารจัดการในการจัดการศึกษา ตลอดทั้งการพัฒนาองค์กรทางการศึกษาที่ตนรับผิดชอบ และมีบทบาทสำคัญในการทำในสิ่งเหล่านี้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นจึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้สอนในสถานศึกษาในปัจจุบันและผู้ต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำทางการศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านหนึ่งโดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ
ปี 2551
3 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 8,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด) | 495,000 | บาท |
(3) | ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์ | 60,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 550,000 | บาท |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทําวิจัย : นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดย มีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมี การเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทําวิจัย : นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดย มีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมี การเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 33 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 69 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 33 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 90 | หน่วยกิต |
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เพื่อ แสวงหาความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ในสังคมยุค ตัวเลข (digital society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) เรียนรู้สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูล สารสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการจัดการ เพื่อแสวงหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการ ของตนเองได้อย่างเหมาะสม ศึกษารวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลและใช้งานฐานข้อมูลสนเทศ การสื่อสารและ แลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสําหรับการวิจัยได้
ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่ เหมาะสมกับสาขาวิชา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสืบค้นองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงการวิจัย การอ่านและการเขียนบทความทางวิชาการ บทความ วิจัย และสามารถนําเสนอ ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมาย ความสําคัญ และหลักการบริหารจัดการหลักสูตร กระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ปัจจัยความสําเร็จในการนําหลักสูตรไปใช้ การศึกษางานเกี่ยวกับการบริหาร และการใช้หลักสูตร และแนวทางการ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
การวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เป็นปัจจุบันด้านการพัฒนาหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา สังคม วิทยาการศึกษา ประวัติและแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและแผนการศึกษา แห่งชาติ หลักสูตรการศึกษาของไทยในอดีตและปัจจุบัน แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้มการจัดการเรียนรู้และการบริหารการศึกษาไทย
ศึกษาสภาพงานครู บทบาทหน้าที่ ความสําคัญของวิชาชีพครู คุณลักษณะของความเป็นครู มาตรฐาน วิชาชีพครู จิตวิญญาณและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู การจัดการความรู้ และการเป็นผู้นําทางวิชาการเกี่ยวกับวิชาชีพครู ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู การนําเสนอแนวทางการพัฒนา ความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู ศึกษา แนวคิด หลักธรรมาภิบาล และความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม และจริยธรรมของ วิชาชีพ แบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่คุรุสภากําหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการทําวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ความหมายและ ลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การ เก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล ข้อมูล และการนําเสนอข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรม และ จรรยาบรรณในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
ศึกษาการทําวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ความหมายและ ลักษณะทั่วไป ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทเครื่องมือ การออกแบบการวิจัย วิธีการวิจัย การดําเนินงานวิจัย การเก็บและ การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล เครื่องมือ และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล (Individual in depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi methocl)การวิจัยเชิง ปฏิบัติการ (Action Research) การทําวิจัยแบบผสม (Mix Method)การเขียนโครงร่างและรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรยาบรรณในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนบทความการวิจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับปรัชญาเชิงศาสตร์ ความหมาย ที่มา และสถานภาพของญาณวิทยา (Epistemology) และกระบวนการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ ความจริงของการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ องค์ประกอบ ของปรัชญาการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empiricism) สํานักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism) และสํานักหลังพฤติกรรม ศาสตร์ (Post-behavioralism) ซึ่งเป็นพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการแสวงหาและจัดระเบียบความรู้ ด้านสังคมศาสตร์ ทั้งในแง่ของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) จุดเน้น (Focus of Study) ขอบข่าย (Locus of Study) และหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ศึกษา วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาตะวันตกและตะวันออก แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษาศาสนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แนวคิดและกลวิธีในการนําปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การบูรณาการองค์ความรู้จากสภาพ บริบทชุมชน ความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการ เรียนรู้
ศึกษา วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ความรู้หลักการและความสําคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาระบบ และกระบวนการประกันคุณภาพการ ศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกสถาน ศึกษา การ จัดระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดําเนินงานประกันคุณภาพ การศึกษาในสถานศึกษา การดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับต่างๆ วิเคราะห์หลักการ ทฤษฎีและกระบวนการ หลักการและกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษาองค์ประกอบของการประกัน คุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษา ความสัมพันธ์ของการประกัน คุณภาพภายในและภายนอกสถาน ศึกษา การประเมินมาตรฐานการศึกษา ตัวชี้วัดการประเมิน การจัดทําแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา การประเมินผล การบริหารความเสี่ยง การกํากับและติดตามการประกันคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพ กฎหมายที่ เกี่ยวข้อง
ศึกษา วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ความรู้ หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทําแผนการจัดการ เรียนรู้การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดการชั้นเรียน การพัฒนาศูนย์การเรียนในสถานศึกษา การ ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนําไปสู่การปฏิบัติ และวิเคราะห์เพื่อนําผลการประเมินแผนการจัดการ เรียนรู้ไปใช้เพื่อการปรับปรุง ศึกษาหลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ระเบียบและการวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับต่าง ๆ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ การสร้าง และการหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลและประเมินผลเพื่อนําไปใช้ในการ พัฒนาผู้เรียน
ศึกษา วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร าความหมาย ความสําคัญ องค์ประกอบ ประเภทและระดับของหลักสูตร หลักการและแนวคิดพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร การบริหารจัดการหลักสูตร การนําหลักสูตรไปใช้เพื่อการจัดการ เรียนรู้ การประเมินหลักสูตรและการวิเคราะห์เพื่อนําผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร
ศึกษา ความหมาย ขอบข่าย และความสําคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หลักการ แนวคิด การออกแบบ การประยุกต์ใช้ และการประเมินสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ การวัด การ ประเมินผล และการบริหารการศึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน
ศึกษา วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ความรู้ในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อความเป็นครู ฝึกทักษะพื้นฐาน ในการฟัง พูด อ่านและเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อความหมายอย่างถูกต้องและการพัฒนา วิชาชีพครู เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษและชาติสมาชิกอาเซียนเพื่อการสื่อสาร และส่งเสริม วัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล
ศึกษา และสังเกตผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ การบริหารงานวิชาการ การจัดทําโครงการบริการ วิชาการ การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ และทดลองสอนในสถานการณ์จริง การพัฒนา แบบทดสอบ ข้อสอบและ เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การตรวจข้อสอบ การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียนรู้ การวัดผลและ ประเมินผลการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ออกแบบงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนเป็นรายกรณี และการพัฒนาตนเองเพื่อ ความเป็นครูมืออาชีพ
ปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเอกอย่างน้อย 1 ระดับชั้น ออกแบบการจัดการเรียนด้วยแนวทาง ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูร่วมกับ ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ จัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนและ นําไปปฏิบัติการสอน จัดทําโครงการทางวิชาการอย่างน้อย 1 โครงการ บันทึกผลการเรียนรู้และวิเคราะห์เพื่อจัดทํา โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ออกแบบการวัดและประเมินผลเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนเสนอรายงานผล การจัดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสัมมนาการศึกษา
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนด
งานที่ผมทำเป็นงานที่ต้องพัฒนาการศึกษา ซึ่งผมจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ด้านวิชาการ เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในระบบและกลไกการศึกษา ผมจึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาเอก และเลือกเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ด้วยเหตุผลที่หลักสูตรนี้ตอบโจทย์ในการพัฒนาคุณวุฒิของผมได้เป็นอย่างดี และเมื่อผมได้เรียนจนสำเร็จเป็น Dr. ความรู้ที่ได้รับยิ่งเป็นส่วนสนับสนุนการทำหน้าที่ในงานที่ผมรับผิดชอบได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน การเรียนในหลักสูตรนี้ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงไม่ทำให้ผมผิดหวังจริงๆ ครับ
ดิฉันทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน มาโดยตลอด ทำให้ดิฉันมีความคิดในการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาระบบการศึกษา ให้มีรูปแบบการจัดหลักสูตรและการสอนที่มีประสิทธิภาพ จึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เพื่อมุ่งหวังที่จะนำความรู้ไปสร้างโอกาสด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน รวมถึงระบบการศึกษาของไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อจบเป็น Dr. ดิฉันก็สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ที่เรียนมา ในการเป็นนักวิชาการ บรรยายพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งหากดิฉันไม่ได้โอกาสและความรู้จากที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นแห่งนี้ ดิฉันก็คงไม่มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้เช่นทุกวันนี้