ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารการศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของประชาชนทั้งในระดับประเทศ และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารการศึกษาจึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ทั้งในด้านบริหารการศึกษาการ พัฒนาการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระ และมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาในองค์กรการศึกษาของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุดในการบริหารการศึกษาและการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษา ให้เกิดการบริหารจัดการการศึกษาตลอดทั้งการพัฒนาองค์กรทางการศึกษาที่ตนรับผิดชอบและมีบทบาทสำคัญในการทำในสิ่งเหล่านี้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นจึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในปัจจุบันและผู้ซึ่งกำลังรอเป็นผู้บริหารและผู้นำทางการศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านหนึ่งโดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ
“WTU สรร สร้าง ผู้บริหารสู่มาตรฐานสากล”
ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารการศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศ เพื่อความผาสุกของประชาชนทั้งในระดับประเทศ และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารการศึกษาจึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ทั้งในด้านบริหารการศึกษาการ พัฒนาการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระ และมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาในองค์กรการศึกษาของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเป็นบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุดในการบริหารการศึกษาและการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษา ให้เกิดการบริหารจัดการการศึกษาตลอดทั้งการพัฒนาองค์กรทางการศึกษาที่ตนรับผิดชอบและมีบทบาทสำคัญในการทำในสิ่งเหล่านี้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นจึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในปัจจุบันและผู้ซึ่งกำลังรอเป็นผู้บริหารและผู้นำทางการศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านหนึ่งโดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเท
ปี 2551
3 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 8,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด) | 495,000 | บาท |
(3) | ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์ | 60,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 550,000 | บาท |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทําวิจัย นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงาน ต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 24 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 60 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 24 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 81 | หน่วยกิต |
นิสิตอาจต้องศึกษาในรายวิชาต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของบัณฑิตวิทยาลัย
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เพื่อแสวงหาความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ ในสังคมยุคตัวเลข (digital society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) เรียนรู้สัมผัส ฝึกการสื่อสาร แลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการจัดการ เพื่อแสวงหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อ แสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ศึกษารวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลและ ใช้งานฐานข้อมูลสนเทศ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ สามารถใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสําหรับการวิจัยได้
ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่ เหมาะสมกับสาขาวิชา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสืบค้นองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จากสื่อ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงการวิจัย การอ่านและการเขียนบทความทาง วิชาการ บทความวิจัย และสามารถนําเสนอ ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาความหมายและความสําคัญของการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน กระบวนการ จัดการเรียนการสอน การสอนเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง รูปแบบ เทคนิคและวิธีการสอน กิจกรรมการเรียน การสอน การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล การวางแผนการสอน การฝึกปฏิบัติการสอน หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลการศึกษา การสร้างและใช้เครื่องมือ การ วัดและประเมินผลการศึกษา การประเมินตามสภาพจริง การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน การประเมิน ภาคปฏิบัติ การประเมินผลย่อยและการประเมินผลรวม การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการ จัดการเรียนรู้และหลักสูตร การใช้สถิติเพื่อการวัดและประเมินผลการศึกษา
ศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อการบริหารจัดการและเพื่อจัดการเรียนรู้โดย อาศัยหลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล ทั้งด้วยเครื่องหรือด้วยมือ การวิเคราะห์ระบบข้อมูลและการ พัฒนาระบบข้อมูลที่มี ให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนทาง เทคนิคและการควบคุมจัดการรวมถึงการสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์และการกําหนดนโยบายของผู้บริหารและเพิ่มคุณภาพทางการศึกษาทั้งในรูปของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาหลักการ นโยบาย การวางแผนและการจัดระบบการบริหารกิจการนักเรียน การส่งเสริม และเสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นํา การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดี การปลูกฝังความรู้ และความคิดที่ดีงาม การจัดสวัสดิการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ การจัดองค์การนักเรียน เช่น ชมรมต่างๆ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ การเรียนรู้และความเจริญงอกงามของนักเรียนในด้าน ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพสูงสุด การเรียนรู้ด้านการบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนักเรียนเพื่อพัฒนา ศักยภาพและการเรียนรู้การดูแลผู้เรียนให้รู้จักการจัดการและคิดเป็น
ศึกษาวิเคราะห์ แนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นํา ประเภทของผู้นํา คุณลักษณะที่ดีของผู้นํา การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ แรงจูงใจ ขวัญและกําลังใจ การสื่อสาร การบริหารความขัดแย้ง และการพัฒนา ภาวะผู้นําในการบริหารการศึกษา โดยสร้างเสริมผู้เรียนให้มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้บริหารด้วยอุดมการณ์ ที่ถูกต้อง และการเป็นผู้บริหารมืออาชีพเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ผู้นําการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้นํา การบริหารความเสี่ยงและความขัดแย้ง การปฏิสัมพันธ์และการพัฒนาเพื่อนร่วมงาน การ บริหารงานแบบระบบเครือข่าย วิเคราะห์กรณีศึกษา ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักคุณธรรมและจริยธรรมของ วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ตามประกาศของคุรุสภา ศึกษาเปรียบเทียบหลัก จริยธรรมกับจรรยาบรรณวิชาชีพตามที่คุรุสภากําหนด ศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีผลกระทบหรือมี ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมของผู้บริหารการศึกษา การป้องกันแก้ไข การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และมีการบริหารจัดการที่ดี การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาและการบริหาร การศึกษาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในประเด็นต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น
การวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธี วิจัย ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการ นําเสนอข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรมและ จรรยาบรรณในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย วิธีการวิจัยการดําเนินงานวิจัย ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) การเก็บและการ รวบรวมข้อมูล การตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย เชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกเป็นรายบุคคล (Individual in depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้ เทคนิคเดล ฟาย (Delphi method) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การทําวิจัยแบบผสม (Mix Method) การ เขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยเชิงคุณภาพ การ เขียนบทความการวิจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับปรัชญาเชิงศาสตร์ ความหมาย ที่มา และสถานภาพของญาณวิทยา (Epistemology) และกระบวนการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ ความจริงของการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ องค์ประกอบของปรัชญาการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empiricism) สํานักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism) และ สํานักหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioralism) ซึ่งเป็นพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ แสวงหาและจัดระเบียบความรู้ด้านสังคมศาสตร์ ทั้งในแง่ของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) จุดเน้น (Focus of Study) ขอบข่าย (Locus of Study) และหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เพื่อนําไปสู่การสร้าง และการพัฒนาทฤษฎีทางด้านสังคมศาสตร์ และศึกษาปรัชญาทางการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลง
ศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในเรื่องการจัดระบบงานและการบริหารงานวิชาการกระบวนการ พัฒนาคุณภาพงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลและการ ประเมินการเรียนรู้ การจัดแหล่งเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญและการนําภูมิ ปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาการพัฒนา วิชาชีพทางการบริหารจากการทํางานวิจัย การศึกษาหลักการและความสําคัญของการประกันคุณภาพ การศึกษาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการ ศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและ ภายนอกสถาน ศึกษา การจัดระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาปัญหาเกี่ยวกับ การดําเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษาในสถานศึกษา การดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาระดับต่างๆ วิเคราะห์หลักการทฤษฎีและกระบวนการ หลักการและกระบวนการในการประกัน คุณภาพการศึกษาองค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการ ประกันคุณภาพการศึกษา ความสัมพันธ์ของการประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา การ ประเมินมาตรฐานการศึกษา ตัวชี้วัดการประเมิน การจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา การประเมินผลการบริหารความเสี่ยง การกํากับและติดตามการประกันคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน การเรียนรู้ จากแนวคิด ทฤษฎี หลักการ กระบวนการและหน้าที่ใน การการบริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา กระบวนการบริหารการศึกษายุคใหม่ การบริหารงาน วิชาการเพื่อคุณภาพและความเป็นเลิศ ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริม การจัดการเรียนรู้ ศึกษาการจัดการความรู้เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาและการจัดการความรู้เกี่ยวกับ การบริหารการศึกษา สามารถเลือกใช้ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และกระบวนการบริหารให้สอดคล้องกับ บริบทระดับมหภาคและภูมิสังคม ศึกษาการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารและ การเรียนรู้ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษารวมถึงผู้บริหารการศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนการเรียนรู้จากแนวคิดทฤษฎีหลักการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา การระดม ทรัพยากรเพื่อการศึกษาการบริหารองค์การ สํานักงานและองค์คณะบุคคล การบริหารบุคคล การ บริหารงานธุรการ การเงินงบประมาณ บทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการเงินและการบริหารทั่วไป การพัสดุ ครุภัณฑ์ทางการศึกษและอาคารสถานที่ รวมทั้งบริหารแหล่งการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานศึกษา และศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนและท้องถิ่น
ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิดและกระบวนการกําหนดนโยบายและการวางแผนกลยุทธการ ศึกษา การวิเคราะห์นโยบายการศึกษา การนํานโยบายและแผนการปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตร องค์ประกอบ เชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่เกี่ยวกับการวางแผนการศึกษา หลักการกระบวนการและ เทคนิควิธีต่าง ๆในการวางแผนรวมถึงการระดมทรัพยากรต่างๆ เพื่อการศึกษา ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น การพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา การนําแผนกลยุทธไปปฏิบัติ ติดตามและ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ศึกษาการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหาร สถานศึกษาและการบริหารการศึกษาสู่การเป็นผู้บริหารมืออาชีพ การสร้างเครือข่ายทางการศึกษาและการ บริหารงานระบบเครือข่าย ในกระบวนการบริหารที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ศึกษาการจัดทําแผนปฏิบัติ การนิเทศการศึกษา โครงการ และการนําสู่การปฏิบัติการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้จัดการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ เติบโตได้ตามศักยภาพ
การฝึกปฏิบัติการการบริหารการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาหรือหน่วยงานทาง การศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับนโยบาย การบริหารแผนกลยุทธ์และโครงการ การพัฒนาหลักสูตร การบริหาร หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การบริหารงานวิชาการอื่นๆ การนิเทศ การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา การ บริหารพัสดุ อาคารสถานที่ การบริหารการเงินและงบประมาณ การบริหารการประชาสัมพันธ์ การบริหาร กิจการและกิจกรรมนักเรียน การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานวิชาการและการวิจัย ตามที่อาจารย์ผู้สอน กําหนดและการสัมมนาหลังการฝึกปฏิบัติการบริหารการศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสรุปองค์ ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา เพื่อความเป็นมืออาชีพทางการบริหารการศึกษา
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
ดิฉันเปิดกิจการโรงเรียนอนุบาลมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยทุ่มเททุกอย่างเพื่อบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จได้จนถึงทุกวันนี้ และเมื่อถึงจุดนี้ดิฉันคิดว่า ดิฉันต้องพัฒนาคุณวุฒิ และความรู้ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาโรงเรียนให้มีขีดความสามารถมากขึ้น จึงตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ด้วยเป็นหลักสูตรที่มีการจัดโปรแกรมการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารสามารถวางแผนการเรียนร่วมกับการทำหน้าที่ที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี และเมื่อดิฉันเรียนจบ ก็ได้ใช้ความรู้จากการศึกษาพัฒนาโรงเรียนจนมีชื่อเสียงมากขึ้น ซึ่งดิฉันตระหนักอยู่เสมอถึงความโชคดีและโอกาสที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
ผมตัดสินใจเรียนปริญญาเอก และเลือกเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เพราะมีผู้ใหญ่ในวงการศึกษาแนะนำ และเมื่อผมได้มาเรียนนอกจากความรู้ที่ผมได้รับจากหลักสูตรนี้แล้ว ผมยังได้รบัการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองจากคณาจารย์ทุกท่าน ซึ่งสิ่งนี้ทำให้นิสิตมีความสำเร็จในการเรียน การทำงาน การสอบแข่งขันต่างๆ และสามารถจบป.เอก ภายใน 3 ปีเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงขอเป็นตัวแทนลูกศิษย์ในหลักสูตรนี้ขอบคุณคณาจารย์ทุกท่าน ที่ปลูกฝังความเป็นครู ให้โอกาสและเติมเต็มอนาคตของลูกศิษย์ทุกคน
การที่ผมต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารการเงิน กรมยุทธศึกษาทหารบก ทำให้ผมจำเป็นต้องขวนขวายเพิ่มพูนความรู้ ด้วยการศึกษาต่อปริญญาเอก และการที่ผมตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จนสำเร็จการศึกษา ทำให้ผมรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะความรู้ที่ผมได้รับ ช่วยให้ผมทำหน้าที่ได้อย่างสมเกียรติ และเต็มภาคภูมิ ผมได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาการด้านการบริหารการศึกษากับอาจารย์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ด้านการศึกษาเป็นอย่างดี ขอบคุณอาจารย์และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นที่เติมเต็มคุณค่าในตัวผมเพื่อทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์