ส่วนงานวิจัยและบริการวิชาการ สังกัด สำนักวิจัย บริการวิชาการ และประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
เลขที่ 4 ม. 11 ต. ลาดสวาย อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12150
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2563-5252 ต่อ 5017,5018 โทร และ 089-930-0305
สามารถติดต่อได้ในวันและเวลาทำการ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 08.30 น. - 17.00 น.
หรือ E-mail address: wturesearch.ac.th@gmail.com
หลักการและเหตุผล
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป็นเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกที่นำเสนอโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) มีระยะเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2559 – 2573 โดยประเทศสมาชิก 193 ประเทศ ได้ลงนามรับรองวาระการพัฒนา 2030 (Agenda 2030) ในวันที่ 25 กันยายน 2558 เป้าหมาย SDGs มีทั้งหมด 17 ข้อ ครอบคลุมมิติสังคม (People) เศรษฐกิจ (Prosperity) สิ่งแวดล้อม (Planet) สันติภาพ (Peace) และหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ซึ่งสอดคล้องกับสามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) คือ ด้านสังคม (People) สิ่งแวดล้อม (Planet) และ Profit (ผลกำไร) จุดเน้นที่สำคัญของเป้าหมาย SDGs คือ การมุ่งที่จะกำจัดความยากจนในทุกมิติ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้โลกยังเป็นระบบสนับสนุนสิ่งมีชีวิตได้อยู่
หลักการที่เป็นพื้นฐานของ SDGs ที่สำคัญคือหลักการพัฒนาที่ครอบคลุม (Inclusive Development) และหลักการพัฒนาอย่างบูรณาการ (Integrated Development) หลักการพัฒนาที่ครอบคลุม (Inclusive Development) คือ การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มุ่งให้ผลประโยชน์ของการพัฒนากระจายไปยังกลุ่มคนทุกกลุ่มในสังคม คนเปราะบางและด้อยโอกาศกลุ่มต่าง ๆ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะและโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ดี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน การพัฒนาอย่างบูรณาการ (Integrated Development) จึงเป็นหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หมายถึง ในการบรรลุเป้าหมาย SDGs จำเป็นต้องใช้ศาสตร์หลายศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจและหาหนทางเพื่อบรรลุความยั่งยืน และต้องการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ดังนั้น เทคโนโลยี นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จึงถูกนำมาใช้ภายใต้งานวิจัยที่มีการบูรณาการเชื่อมโยงกันเพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสังคม ประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเป็นการดำเนินการที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจไทยในอนาคตโดยการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ผ่านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและพฤติกรรม และด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน งานวิจัยจึงเป็นพันธกิจหลักสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยให้การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความร่วมมือของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในการบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน และพันธกิจอื่น ๆ เช่น การบริการวิชาการ หรือ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้ตรงตามความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีเวทีการนำเสนอผลงานและการเผยแพร่ผลงานการวิจัยและ งานสร้างสรรค์ และผลงานวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาออกสู่สาธารณะชนในระดับชาติ ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรและสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้าร่วมในการเสริมสร้างความรู้นำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน ความเข้มแข็งทางสังคมที่นำไปสู่การการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
จากความสำคัญข้างต้น มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันการศึกษาได้แก่ มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น และเครือข่ายวิจัยประชาชื่น จึงได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติขึ้น ปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็น ครั้งที่ 20 ในหัวข้อ “ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพให้คณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร ตลอดจนบุคคลทั่วไปให้ความสำคัญของงานวิจัย และ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนข้อคิดเห็นงานวิจัย เพื่อการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อันจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต่อชุมชน สังคมและประเทศต่อไป
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบของเอกสารเชิงวิชาการ และสร้างเครือข่ายในการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัยให้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
3. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเป็นเวทีวิชาการในการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนผลงาน และข้อมูลการวิจัยในกลุ่มสาขาต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระดับประเทศ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพให้คณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร ตลอดจนบุคคลทั่วไปให้ความสำคัญของงานวิจัย และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนข้อคิดเห็นงานวิจัย เพื่อการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อันจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต่อชุมชน สังคมและประเทศต่อไป
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบของเอกสารเชิงวิชาการ และสร้างเครือข่ายในการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัยให้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
3. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเป็นเวทีวิชาการในการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนผลงาน และข้อมูลการวิจัยในกลุ่มสาขาต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระดับประเทศ
หัวข้อในการนำเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัย
1. กลุ่มวิทยาศาสตร์ 2. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1.1 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ 2.1 ด้านการศึกษา
1.2 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.2 ด้านบริหารธุรกิจ
1.3 ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2.3 ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์
รูปแบบการประชุมและนำเสนอบทความวิจัย
1. การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรกิตติมศักดิ์ (Keynote Speaker )
2. การนำเสนอบทความวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation )
3. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation )
ระยะเวลาการประชุม
วันเสาร์ที่ 28 และวันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นำเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. อาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา ได้เผยแพร่งานวิจัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ความรู้เกี่ยวกับ “ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”
2. คณาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยมีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ
3. นิสิตและนักศึกษามีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ
4. เป็นการสร้างการจัดการเรียนรู้ ให้กับนิสิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ปรับระบบการศึกษาต่อไป
5. มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและนักวิจัยระดับชาติ
อัตราค่าลงทะเบียน
ประเภทการเข้าร่วม | อัตราค่าลงทะเบียน |
---|---|
1. เข้าร่วมประชุม รับฟังการบรรยายพิเศษโดยไม่นำเสนอผลงานทางวิชาการ | บุคคลภายนอก 1,000 บาท (รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อ) โดยลงทะเบียนชำระเงิน ตั้งแต่ วันที่ วันที่ 1 มีนาคม – วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 |
2. เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ทางวิชาการ | -บุคคลภายนอก 3,200 บาท / เรื่อง (รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อ) ทั้งนี้ต้องชำระเงิน/ส่งบทความ ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม – วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 |
3. เข้าร่วมประชุมและนำเสนอบทความวิจัยแบบปากเปล่า | -นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 3,200 บาท / เรื่อง (รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อ) ทั้งนี้ต้องชำระเงิน/ส่งบทความ ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม – วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 |
4. เข้าร่วมประชุมและนำเสนอบทความวิจัย (ที่รวมค่าลงทะเบียนและจัดทำโปสเตอร์) | - นิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 3,200 บาท / เรื่อง - ค่าดำเนินการจัดทำและออกแบบโปสเตอร์พร้อมขาตั้ง 2500/เรื่อง (รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อ) ทั้งนี้ต้องชำระเงิน/ส่งบทความ ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม – วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 |
หมายเหตุ
1. เมื่อมีการชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว ทางผู้จัดงานประชุมวิชาการจะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
2. อัตราค่าลงทะเบียนนี้รวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารกลางวันและอาหารว่าง 2 มื้อ
3. หากต้องการใบเสร็จเพื่อเบิกค่าลงทะเบียนของหน่วยงาน กรุณานำใบเสร็จที่ชำระของธนาคาร (ตัวจริง)
นำมาติดต่อได้ที่ การเงิน ชั้น 1 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ในวันและเวลาดังกล่าว
4. อัตราค่าลงทะเบียนสำหรับการเข้าร่วมนำเสนอผลงานต่อ 1 ท่านเท่านั้น หากผู้เข้าร่วมนำเสนอประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าร่วมฟังการบรรยายประสงค์สามารถลงทะเบียนในลักษณะของการเข้าร่วมประชุม อัตราค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
5. เกียรติบัตรในการนำเสนอผลงานที่มอบให้ จะปรากฏชื่อของผู้ลงทะเบียนนำเสนอผลงานคนแรกเท่านั้น ส่วนรายชื่อผู้ร่วมในบทความจะปรากฏในฉบับรวมเล่มการประชุมวิชาการฯ
การลงทะเบียนทางเว็บไซต์
ผู้สมัครต้องทำการลงทะเบียนและแนบไฟล์เอกสารการชำระเงินค่าลงทะเบียนให้เรียบร้อยพร้อมแนบไฟล์บทความฉบับเต็ม upload ไฟล์ word ให้เรียบร้อย จากนั้นให้ผู้สมัครเข้าไปกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนรับรหัสประจำตัวที่่ http://www.western.ac.th/index.php/register โดยผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วกดยืนยันเพื่อรับ รหัสประจำตัว จากนั้นตรวจสอบข้อมูลและ กดยืนยันอีกครั้ง จึงจะถือว่าการสมัครเสร็จสมบูรณ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2563-5252 ต่อ 5018
ลักษณะบทความวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัย
1. บทความวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมจะต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่มาก่อน
2. การนำเสนอผลงาน ให้นำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentation) ในที่ประชุมโดยใช้เวลาในการนำเสนอไม่เกิน 15 นาที ซักถามจากกรรมการผู้วิพากษ์ 5 นาที (รวมไม่เกิน 20 นาที)
3. การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (poster) ผู้นำเสนอต้องยืนประจำจุดโปสเตอร์ของตนเองโดยใช้เวลาในการนำเสนอ ตอบข้อซักถามของกรรมการ รวมไม่เกิน 20 นาที
4. บทความวิจัยฉบับเต็มที่ผู้นำเสนอผลงานได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วจะได้ตีพิมพ์เผยแพร่แบบ Full Paper ใน Proceeding ของการประชุม
กําหนดการ
ประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20
เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิรืน อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565
เวลา 08.00 – 09.00 น.
เวลา 09.00 – 09.10 น.
เวลา 09.10 – 09.20 น.
เวลา 09.20 – 09.35 น.
เวลา 09.35 – 10.45 น.
เวลา 11.00 – 12.00 น.
เวลา 12.00 – 13.00 น.
เวลา 13.00 – 14.15 น.
เวลา 14.15 – 14.30 น.
เวลา 14.30 – 16.00 น.
เวลา 16.00 – 17.00 น.
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565
เวลา 08.00 – 09.00 น.
เวลา 09.00 – 15.00 น.
- ลงทะเบียนการเข้าร่วมงาน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัครดา เกิดประทุม รองอธิการบดีกล่าวรายงาน
- ดร.ประภากร สมิติ นายกสภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับและเปิดการ ประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20
เรื่อง “ปลูกแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรมนําเศรษฐกิจ
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
- พิธีมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่น
- ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดย นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์
- พักรับประทานอาหารกลางวัน
- นําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์(ต่อ)
- พักรับประทานอาหารว่าง
- นําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์(ต่อ)
- มอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมนําเสนอผลการวิจัย
- ลงทะเบียนการเข้าร่วมงาน (คณะทันตแพทยศาสตร์ วัชรพล)
- นิทรรศการและเสวนาทางวิชาการผลงานของนิสิตปริญญาเอก
หมายเหตุ : รูปแบบการจัดงานอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
แบบประเมินการประชุมวิชาการและนําเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง “ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
เลขที่ 4 ม. 11 ต. ลาดสวาย อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12150
โทร 0-2563-5252 ต่อ 5017,5018 และ 089-930-0305
สามารถติดต่อได้ในวันและเวลาทำการ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 08.30 น. - 17.00 น.
E-mail address : wturesearch.ac.th@gmail.com
© 2014 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
เลขที่ 4 หมู่ 11 ถ.หทัยราษฎร์ ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150