คณะสัตวแพทยศาสตร์

ข่าวสารศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์

ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่สัตวแพทย์ เจ้าของฟาร์ม เพื่อตอบสนองการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์ โดยเน้นความสะดวก รวดเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยงและเจ้าของสัตว์ ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ยังสนับสนุน การเรียน การสอนให้นิสิตสัตวแพทย์เป็นงานสำคัญ และมีการพัฒนาองค์ความรู้ในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ และการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ

โรค ‘ASF ในสุกร’ อาจเป็นชื่อที่ฟังดูไม่คุ้นหูนัก แต่เชื่อหรือไม่ นี่คือโรคในสุกรที่จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจได้อีกมากมายมหาศาล โรค ASF ในสุกร (African Swine Fever) หรือ ‘โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร’ กำลังแพร่ระบาดในหลายประเทศ และอีกหลายประเทศก็ตระหนักถึงความรุนแรงที่อาจตามมา ไม่เพียงแต่เฝ้าระวัง แต่รัฐยังออกมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้โรคนี้แพร่ระบาดจนเกิดผลเสีย...แล้วประเทศไทยล่ะ เราตระหนักรู้ และเตรียมการป้องกันเกี่ยวกับโรค ASF ในสุกรนี้เพียงใด
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) เป็นโรคไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรที่แพร่กระจาย ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนแต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรค ได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรค ในขณะที่เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทาน ในผลิตภัณฑ์จากสุกรและสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้นโรคนี้เป็นโรค ที่มีความความรุนแรงทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีการกระจายอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทั้งในทวีปแอฟริกา ยุโรปตะวันออก ประเทศในกลุ่ม Eurasia สหภาพโซเวียตและทวีปเอเชีย ซึ่งในปีพ.ศ. 2464 มีการระบาดเกือบทุกประเทศในทวีป แอฟริกา ต่อมาพบการระบาดในทวีปยุโรปและแพร่กระจายต่อไป ประเทศในทวีปอเมริกากลางและใต้โดยมีรายงาน ในประเทศคิวบา ประเทศบราซิล สาธารณรัฐโดมินิกัน และประเทศเฮติส่วนในสหภาพโซเวียตมีการระบาดก่อน พ.ศ. 2520 และมีการระบาดเข้ามาในทวีปเอเซียที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในที่สุดในปีพ.ศ. 2561- มิ.ย. 2562 พบว่าสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีความรุนแรงมากขึ้นใน 20 ประเทศ โดยเป็นประเทศ ในทวีปยุโรป 10 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก ฮังการีลัตเวีย มอลโดวา สาธารณรัฐโปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย ยูเครน บังกาเลีย ประเทศในทวีปแอฟริกามี4 ประเทศ ได้แก่ ชาด โกตดิวัวร์แอฟริกาใต้สาธารณรัฐแซมเบีย และในทวีปเอเชีย 6 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศมองโกเลีย ราชอาณาจักรกัมพูชา เขตบริหารพิเศษฮ่องกงและประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งการรายงานครั้งแรกในเอเชีย คือ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการระบาดของโรคนี้จึงถือว่าโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคสัตว์แปลกถิ่น ซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโรค เพื่อลด ความเสียหายต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร

ที่มา:กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โรคสัตว์สำคัญที่ควรระวังในช่วงฤดูหนาว

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ รายงานการพบโรคช่วงฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2550 โรคที่มีการรายงานเกือบทุกปี จำแนกตามชนิดสัตว์ มีรายละเอียดเรียงตามลำดับดังตารางแสดง
ในช่วงหน้าหนาวจะเห็นได้ว่า โรคติดเชื้อแบคทีเรียได้มีการรายงานตรวจพบอย่างต่อเนื่อง โรคพยาธิทั้งภายในและในกระแสเลือดยังคงเป็นปัญหาพื้นฐานที่พบในสัตว์หลายชนิด ส่วนโรคทางไวรัสวิทยามักทำความสูญเสียอย่างมากเมื่อเกิดการระบาดขึ้น ดังนั้นโปรแกรมการป้องกัน การทำวัคซินชนิดต่างๆ โดยเฉพาะระบบการจัดการ ดูแลที่ดี ต้องมีการกระทำอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง นับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย อย่าลืมว่าสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคที่ดี โอกาสเกิดโรคก็จะน้อยลง ในสภาวะอากาศที่แปรปรวน มีอากาศหนาวเย็น โรคที่มักพบได้บ่อย มักเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินระบบหายใจ โรคติดเชื้อต่างๆจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ โรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มสัตว์ใหญ่ คือ Haemorrhagic septicemia, FMD และโรคพยาธิในกระแส โลหิต สำหรับสุกรโรคที่ต้องเฝ้าระวังคือ Swine fever, Colibacillosis โดยมักมี PRRS ร่วมทำให้เกิดความสูญเสียที่รุนแรงขึ้น นอกจากนั้นต้องระมัดระวังในด้านสุขอนามัยในการบริโภคด้วย ส่วน สัตว์ปีกให้ดูแลในด้านการควบคุมโรค Fowl cholera, Duck plaque และ NCD สำหรับสัตว์เลี้ยงโรคสำคัญที่พบบ่อย คือ โรคพิษสุนัขบ้า ในด้านอาหารสัตว์ ให้พึงระวังเกี่ยวกับเชื้อรา เนื่องจาก ความชื้นหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา ฯลฯ อันส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพสัตว์ จึงต้องมีการใส่ใจดูแลสัตว์อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นในกลุ่มโรคสำคัญ ก็ อย่าได้วางใจ ควรต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งนี้โรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือ โรคไข้หวัดนก เนื่องจากมีการรายงานพบในประเทศใกล้เคียง (คือ กัมพูชา ลาว ฮ่องกง และ จีน ล่าสุดพบสงสัยที่เดนมาร์ก อยู่ระหว่างยืนยันผล) ดังนั้นหากพบสิ่งผิดปกติใดๆ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยทันที จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ที่มา:สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2563

Link

ม้าตาย!!!!!!! โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม family Reoviridae genus Orbivirus เชื้อนี้ถูกยับยั้งได้ด้วยความร้อน มากกว่า 140°F สารละลายฟอร์มาลิน ß-propriolactone อนุพันธ์ ของ acetylethyleneimine หรือ การฉายรังสีและถูกท าลายได้ ด้วยความเป็นกรดด่างที่ pH น้อยกว่า 6 หรือมากกว่า 12 นอกจากนี้สามารถใช้น้ ายาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น 2% กรดอะซิติก หรือ กรดซิตริก ในการฆ่าเชื้อโรคได

ที่มา : ส่วนโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์

Link

การดูแลสุขภาพแพะ

แพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งทึ่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน การเลี้ยงดูแพะโดยส่วนใหญ่จะมี 2 แบบคือ แพะนมจะเลี้ยงในโรงเรือน ส่วนแพะเนื้อจะเลี้ยงแบบปล่อย หรือ ผูกไว้ตามต้นไม้และหาอาหารกินตามธรรมชาติ ทําให้ติดพยาธิได้ง่ายเนื่องจากใช้แปลงหญ้าและทุ่งหญ้าสาธารณะ ร่วมกับสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆ มีโอกาสสัมผัสทั้งเชื้อโรคและได้รับไข่พยาธิและตัวออนระยะติดต่อที่ปนเปื้อนอยู่ใน สิ่งแวดล้อม แพะมีความไวและแสดงอาการรุนแรงต่อโรคพยาธิมากกวาสัตว์ชนิดอื่น(ถวัลย์,2542) จึงมีโอกาสติด โรคพยาธิได้ง่าย พยาธิในทางเดินอาหารของแพะมีหลายชนิด อาทิเช่น พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวกลม พยาธิทําให้สัตว์แสดงอาการป่วยแตกต่างกัน โดยอาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิปริมาณของปรสิตที่อยู่ในร่างกายโฮสที่และอายุของสัตว์ด้วย (Morter, 2006) แต่โดยส่วนใหญ่จะทำให้แพะแสดงอาการเบื่ออาหาร ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ผอม ซีด ขนหยิกหยอง โลหิตจาง แคระแกร็น เจริญเติบโตช้า ในรายที่มีอาการรุนแรง จะทําให้แพะตายในอัตราสูง หรือ ตายหมดทั้งฝูง (ถวัลย์, 2542; Schoenian, 2003) สําหรับลูกแพะที่อายุน้อยๆจะมีอัตราการตายสูง เนื่องจากลูกแพะมีภูมิต้านทานต่ำ ทําให้ติดเชื้อจุลชีพรวมทั้งพยาธิได้ง่าย ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียค่าใช้จายในการรักษาโดยใช้ยาถ่ายพยาธิเพื่อควบคุมโรค ดังนั้นเกษตรกรควรถ่ายพยาธิเป็นวงรอบเพื่อป้องกันการสูญเสียผลผลิตและค่าใช้จ่าย

*** โรคอุบัติซ้ำที่เกษตรกรควรรู้ ***โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease)

       “โรคปากและเท้าเปื่อย” หรือที่เรียกกันคือ “โรค FMD” หรือ “โรคกีบ” เป็นโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรบ้างก็เรียกกันว่า “โรคประจำถิ่น” เพราะมีรายงานการระบาดทุกปี โดยเฉพาะโค กระบือ และสุกร ซึ่งโรคดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ของไทยเป็นอย่างมาก ทั้งความเสียหายด้านผลผลิตและการจำหน่าย 
สาเหตุ
      เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน
     โรคนี้สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง โดยเฉพาะกับสัตว์ที่ไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะติดโรคจากสัตว์ที่ป่วยได้โดยง่าย ดังนั้น เกษตรกรควรมีการป้องกันและเฝ้าระวัง 

!!!!โปรดระวัง!!!!! โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย (Haemorrhagic septicemia) หรือโรคคอบวม

          โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย หรือ นิยมเรียกตามอาการว่า "โรคคอบวม" เป็นโรคระบาดรุนแรงของโค-กระบือ แต่โรคนี้จะมีความรุนแรงน้อยลงในสัตว์อื่นๆ เช่น แกะ สุกร ม้า อูฐ กวางและช้าง เป็นต้น ลักษณะสำคัญของโรคคือ หายใจหอบลึกมีเสียงดัง คอหรือหน้าบวมแข็ง อัตราการป่วยและอัตราการตายสูง
          เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ พาสทูเรลลา มัลโตซิดา (Pasteurella multocida) พบในประเทศต่างๆ ของเอเซียและอาฟริกาเป็นส่วนมาก การระบาดของโรคจะเกิดขึ้นในสภาวะที่สัตว์เกิดความเครียด เช่น ต้นหรือปลายฤดูฝน การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือการใช้แรงงานสัตว์มากเกินไป ในสภาวะความเครียดเช่นนี้สัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อ (carrier) จะปล่อยเชื้อออกมาปนเปื้อนกับอาหารและน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป ก็จะป่วยเป็นโรคนี้และขับเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายต่างๆ เช่นน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ทำให้โรคแพร่ระบาดต่อไป เชื้อ Pasteurella multocida นี้เมื่อปนเปื้อนอยู่ในแปลงหญ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในดินที่ชื้นแฉะอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 1 เดือน (สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.,2563) 
          โรคนี้จึงมีความสำคัญกับสัตว์เนื่องจากมีการระบาดที่รุนแรงและทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ ดังนั้นเราควรป้องกันการเกิดโรคทันที  

Learn More

โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis)

โรคสำคัญอย่ามองข้าม
โรคบรูเซลโลซิสหรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า "โรคแท้ง" "โรคแท้งติดติดต่อ" เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ สุกร แพะ ม้า สุนัข เป็นต้น และติดต่อสู่คนได้ ลักษณะที่ควรสังเกตของโรคนี้ คือ สัตว์จะแท้งลูกในช่วงท้ายของการตั้งท้อง และอัตราการผสมติดในฝูงจะต่ำ

ติดตามสถาณการณ์ Click

ติดต่อคณะ

CONTACT INFO
อาคารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
เลขที่ 600 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี

โทร.035-651-000,083-066-5205
เลขาคณะสัตวแพทยศาสตร์

SUBSCRIPTION

รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น