ปัจจุบันศาสตร์ในสาขาวิชานิติศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทแม้ว่าจะมีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานและสังคมแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ประกอบกับในตลาดแรงงานยังต้องการผู้เชี่ยววชาญเฉพาะสาขาวิชาเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ที่มีภารกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างบัณฑิตนิติศาสตร์ในระดับปริญญาเอก ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา สามารถประยุกต์ในการวิจัยเป็นพื้นฐานในทางกฎหมายสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าทางวิชาการและมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ
“นิติศาสตร์มุ่งมั่น สรรค์สร้างความยุติธรรม เลิศล้ำความดีเป็นศรีเวสเทิร์น”
ปัจจุบันศาสตร์ในสาขาวิชานิติศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทแม้ว่าจะมีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานและสังคมแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ประกอบกับในตลาดแรงงานยังต้องการผู้เชี่ยววชาญเฉพาะสาขาวิชาเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ที่มีภารกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างบัณฑิตนิติศาสตร์ในระดับปริญญาเอก ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา สามารถประยุกต์ในการวิจัยเป็นพื้นฐานในทางกฎหมายสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าทางวิชาการและมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ
ปี 2551
3 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล
สภามหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตยสภา และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 8,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด) | 495,000 | บาท |
(3) | ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์ | 60,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 550,000 | บาท |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
การศึกษาในแผนนี้นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ ไปกับการสัมมนาทางวิชาการภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์โดย
สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยอาจลงทะเบียน เรียนเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 48 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 72 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 72 | หน่วยกิต |
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงาน ต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบโดย
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 51 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 12 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 75 | หน่วยกิต |
นิสิตอาจต้องศึกษาในรายวิชาต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของบัณฑิตวิทยาลัย
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:/T) เพื่อแสวงหา ความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ในสังคมยุคตัวเลข (digital Society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) เรียนรู้สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการจัดการ เพื่อแสวงหาความรู้ การสืบค้น ข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ศึกษา รวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลและใช้งานฐานข้อมูลสนเทศ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศบนระบบและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสําหรับ การวิจัยได้
ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่เหมาะสมกับ สาขาวิชา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสืบค้นองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงการวิจัยทางกฎหมาย การอ่านและการเขียนบทความทางวิชาการ บทความวิจัย และสามารถ นําเสนอ ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาประวัติ วิวัฒนาการ และปรัชญาของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไทยในยุคสมัยต่างๆ ความสัมพันธ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากับการคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลในสังคมไทย บทบาทของกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาในสังคมไทยที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้น การศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่งของต่างประเทศที่สําคัญ หรือซึ่งเป็นที่มาของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หลักการและวิธีพิจารณาความ แพ่งในศาลเฉพาะเรื่อง (ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลครอบครัวและเยาวชน) หลักการและวิธีพิจารณาโดย อนุญาโตตุลาการ วิเคราะห์กระบวนพิจารณาความคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งเฉพาะเรื่อง การพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ
ให้นิสิตที่เลือกศึกษาแบบ 2.2 เรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของกรรมการ ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องคดีปกครอง เขตอํานาจของศาลปกครอง หลักการพื้นฐานในกระบวนวิธี พิจารณาคดีปกครอง รูปแบบคําร้องในคดีปกครอง เงื่อนไขการฟ้องและการดําเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครอง การ ควบคุมมิให้ขัดต่อกฎหมายโดยศาลปกครอง การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษา การระงับกระบวนวิธีพิจารณาคดี ปกครอง คําพิพากษาและผลของคําพิพากษาในคดีปกครอง การบังคับตามคําพิพากษา ทั้งนี้โดยศึกษาและวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของต่างประเทศด้วย
ศึกษาแนวความคิดและวิวัฒนาการของประกันภัย ทฤษฎีหลักการและบทบาทการประกันภัยในการพัฒนา และส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ ศึกษาทฤษฎีกฎหมายประกันภัยชั้นสูงซึ่งเกี่ยวกับหลักการ ใช้การตีความและการพัฒนากฎหมายประกันภัย เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและควบคุมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อกฎหมายประกันภัย
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างความผิดอาญา ตามแนวความคิดของประเทศที่ใช้ระบบชีวิลลอร์ และคอม มอนลอร์ วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาการทางความคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ และสังคม ความหมายของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ รวมทั้งการฟอกเงินที่ได้รับจากการประกอบ อาชญากรรม
ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีและประวัติศาสตร์ของหลักพื้นฐานในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะสัญญา และละเมิด โดยวิเคราะห์จากทางทฤษฎีและแนวคําพิพากษา ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศ
สัมมนาประเด็นปัญหาทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอิเล็ต ทรอนิกส์และแนวโน้มด้านกฎหมายและนวัตกรรมในหัวข้อที่น่าสนใจ ปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพบังคับของกฎหมายกับศิล ธรรม โดยการใช้กรณีศึกษา ผลการวิจัยหรือวิธีการอื่น เพื่อนําความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการนําเสนอข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและการ เขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
ความหมายและลักษณะทั่วไปของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย วิธีการ วิจัยการดําเนินงานวิจัย ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) การเก็บและการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบเครื่องมือ การ ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล (Individual in depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้ เทคนิคเดลฟาย (Delphi method) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การทําวิจัยแบบผสม (Mix Method) การเขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยเชิงคุณภาพ การ เขียนบทความการวิจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษารากฐานทางทฤษฎีกฎหมายและทฤษฎีทางนิติศาสตร์ ศึกษาแนวคิดกระแสหลักอื่นๆ ในทางนิติ ปรัชญา ure Theory of Law) นิติศาสตร์เชิงวิจารย์ (Critical Legal studies) แนวความคิดนิติศาสตร์ เชิงเศรษฐกิจ (Economical Philosophy) แนวความคิดนิติศาสตร์ เชิงรัฐศาสตร์ (Politcal Philosophy) นิติศาสตร์เชิงสังคม วิทยา (Socialogical Jurisprudence) แนวความคิดด้านความยุติธรรม กับ ศิลธรรม ภารกิจของวิชานิติปรัชญาในยุคปัจจุบัน
สัมมนาในหัวข้อที่จะนําไปสู่การทําดุษฎีนิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในหัวข้อ ดังกล่าว และการศึกษาดูงานในประเทศ/ต่างประเทศเพื่อนํามาบูรณาการในการวิจัย โดยจัดทําเป็นรายงานผลการศึกษา ดูงาน
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
ด้วยบทบาทของผมทำให้ผมมีความสนใจที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ด้านนิติศาสตร์ จึงได้ search หาหลักสูตรจากหลายสถาบัน และตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ด้วยเห็นว่าหลักสูตรมีคณาจารย์ประจำที่เป็นไปตามเกณฑ์การจัดการศึกษาและได้รับการรับรองจาก อว. และเมื่อได้เรียนก็ยิ่งรู้สึกว่าการเรียนที่เข้มข้น ผนวกกับการใส่ใจดูแลของคณาจารย์ ทำให้ผมมั่นใจในตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรนี้ กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอย่างมาก
ดิฉันมีความสนใจที่จะเรียนต่อปริญญาเอกมานาน แต่ด้วยไม่มั่นใจว่าจะสามารถเรียนได้ เพราะด้วยภารกิจและหน้าที่การงานที่มากมาย ประกอบกับความกังวลใจเกี่ยวกับการเรียนที่ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจ แต่เมื่อมีผู้ใหญ่ในแวดวงการศาลได้แนะนำหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ดิฉันได้หาข้อมูลและพูดคุยกับผู้บริหารหลักสูตร ทำให้ดิฉันมีความเชื่อมั่น และมั่นใจทั้งกับตัวเองและหลักสูตรนี้เป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจเรียนหลักสูตรนี้ และดิฉันก็สามารถเรียนสำเร็จได้โดยที่งานที่รับผิดชอบก็ไม่กระทบ ขอบคุณตัวเองและขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสมีในทุกวันนี้