ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนทุกคนได้รับการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุขเชิงรุก และยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศทำให้จำเป็นต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาประจำตามพยาบาลเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้บริการในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพแก่ประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประชาชนในระดับประเทศและนานาชาติได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า ปัญหาการขาดแคลนหรือมีจำนวนไม่เพียงพอของบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเชี่ยววชาญเฉพาะสาขาที่จะให้บริการแก่ประชาชน จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นอย่างยิ่ง
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจที่สำคัญคือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมสุขภาพ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขเพื่อการป้องกันเชิงรุก การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบต่อปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญจึงได้พิจารณาและเห็นว่าการเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาความรู้ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการงานสาธารณสุขซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงทางวิชาการในด้านสาธารณสุขของประเทศได้
“การสาธารณสุขเพื่อ “สุขภาวะ” ที่ยั่งยืน”
“Public Health for Sustainable”
ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนทุกคนได้รับการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุขเชิงรุก และยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศทำให้จำเป็นต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาประจำตามพยาบาลเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้บริการในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพแก่ประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประชาชนในระดับประเทศและนานาชาติได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า ปัญหาการขาดแคลนหรือมีจำนวนไม่เพียงพอของบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเชี่ยววชาญเฉพาะสาขาที่จะให้บริการแก่ประชาชน จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นอย่างยิ่ง
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจที่สำคัญคือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมสุขภาพ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขเพื่อการป้องกันเชิงรุก การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบต่อปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญจึงได้พิจารณาและเห็นว่าการเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหาความรู้ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการงานสาธารณสุขซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงทางวิชาการในด้านสาธารณสุขของประเทศได้
ปี 2551
3 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 8,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด) | 495,000 | บาท |
(3) | ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์ | 60,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 550,000 | บาท |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
การศึกษาในแผนนี้ นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ไปกับการ สัมมนาทางวิชาการ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดย
สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยอาจลงทะเบียนเรียน เพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 48 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 72 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 72 | หน่วยกิต |
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และ ทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงานต่อที่ประชุม การสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 51 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 81 | หน่วยกิต |
ให้นิสิตเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเสรี เพิ่มเติม ตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะวิชา
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เพื่อแสวงหา ความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ในสังคมยุคตัวเลข (digital Society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) เรียนรู้สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการจัดการ เพื่อแสวงหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่าง เหมาะสม ศึกษารวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลและใช้งานฐานข้อมูลสนเทศ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศ บนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้ โปรแกรมสําหรับการวิจัยได้
ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่เหมาะสมกับ สาขาวิชา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสืบค้นองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงการวิจัย การอ่านและการเขียนบทความทางวิชาการ บทความวิจัย และ สามารถนําเสนอ ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาลักษณะองค์การ ทฤษฎีผู้นํา ทฤษฎีการจูงใจ รูปแบบและกระบวนการ การบริหารในองค์การ รวมถึง การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทํางาน การสั่งการ การควบคุมการทํางานให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเน้น ถึงการศึกษาเชิงแนวปฏิบัติและกรณีศึกษา
ศึกษาแนวคิด หลักการ และเป้าหมายในการบริหารงานบุคคลและทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์การในเชิงนโยบาย ให้สอดคล้องกับกระบวนการดําเนินการภายในองค์การสาธารณสุขโดย ครอบคลุมหลักการในการสรรหา การคัดเลือก และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงแนวคิดในการจัดกร ผลตอบแทนของบุคคลที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์การโดยเน้นถึงการศึกษาเชิงปฏิบัติและ กรณีศึกษา
ศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ และเพื่อจัดการเรียนรู้โดยอาศัยหลักการจัดเก็บข้อมูลและ ประมวลผล ทั้งด้วยเครื่องหรือด้วยมือ การวิเคราะห์ระบบข้อมูลและการพัฒนาระบบข้อมูลที่มี ให้สามารถใช้งานได้ อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนทางเทคนิค และการควบคุมจัดการรวมถึงการสนับสนุนการ วางแผนกลยุทธ์และการกําหนดนโยบายของผู้บริหารระดับสูง
แนวคิด ทฤษฎี หลักการและกระบวนการบริหารสาธารณสุข นโยบาย กลยุทธ์ และการวางแผนยุทธศาสตร์ สาธารณสุข ระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข ทรัพยากรสาธารณสุข การเงินการคลัง การบัญชี และระบบงบประมาณ มาตรการและกฎหมายสาธารณสุข ระบบการให้บริการสุขภาพ การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข การวิเคราะห์แนว ทางการตัดสินใจของผู้บริหารในการกําหนดนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพของระบบงานสาธารณสุขระดับต่างๆ การ วิเคราะห์แนวทางการเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุขในองค์ประกอบต่างๆ ให้สนองตอบความต้องการของประชาชนและ สังคมเพื่อการพัฒนาสุขภาพ
ศึกษาแนวคิดหลักการบัญชีการเงินขั้นมูลฐาน การจัดเก็บ การรวบรวม การจัดจําแนกประเภทบัญชี เพื่อให้ เข้าใจงบการเงินสามารถวัดผลการดําเนินงานและฐานะการเงินขององค์การด้านสาธารณสุขได้ การบัญชีบริหารด้านสาธารณสุขจะเน้นศึกษาถึงวิธีการบัญชี การวิเคราะห์ต้นทุนงานสาธารณสุขเพื่อการตัดสินใจ ตลอดถึงการใช้ข้อมูล ทางการบัญชีเพื่อการวางแผนและการควบคุม
ศึกษา วิเคราะห์ ภารกิจขององค์การสาธารณสุข สภาพแวดล้อมตลอดจนปัญหาต่างๆ และประยุกต์ใช้กับ ความรู้ในแขนงต่างๆ โดยนํามากําหนดกลยุทธ์ นโยบายและนําไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยเน้น ถึงการศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา
สัมมนาประเด็น ปัญหา และแนวโน้มด้านการสาธารณสุขและนวัตกรรมในหัวข้อที่น่าสนใจ โดยการใช้ กรณีศึกษา ผลการวิจัยหรือวิธีการอื่น เพื่อนําความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการนําเสนอข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและ การเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
ความหมายและลักษณะทั่วไปของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย วิธีการวิจัย การดําเนินงานวิจัย ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) การเก็บและการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มี ส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล (Individual in depth interview) การ สนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi method) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การทํา วิจัยแบบผสม (Mix Method) การเขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณใน การวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนบทความการวิจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับปรัชญาเชิงศาสตร์ ความหมาย ที่มา และสถานภาพของญาณวิทยา (Epistemology) และกระบวนการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ ความจริงของการศึกษาปรัชญาเชิงศาสตร์ องค์ประกอบ ของปรัชญาการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empiricism) สํานักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism) และสํานักหลังพฤติกรรม ศาสตร์ (Post-behavioralism) ซึ่งเป็นพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการแสวงหาและจัดระเบียบความรู้ ด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์ ทั้งในแง่ของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) จุดเน้น (Focus of Study) ขอบข่าย (Scope of Study) และหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เพื่อนําไปสู่การสร้างและการพัฒนาทฤษฎีทางด้านปรัชญา วิทยาศาสตร์
สัมมนาในหัวข้อที่นิสิตต้องการทําดุษฎีนิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของกรรมการที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน ซึ่งผลการศึกษาต้องอยู่ในขั้นของการพัฒนาเป็นดุษฎีนิพนธ์ได้ในอนาคต และการศึกษาดูงานในประเทศ / ต่างประเทศ เพื่อนํามาบูรณาการในการวิจัย โดยจัดทําเป็นรายงานผลการศึกษาดูงาน
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
นับเป็นช่วงเวลาที่ดี และเป็นโอกาสอันดีที่ได้มาศึกษาในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซึ่งสำเร็จการศึกษาในปี 2558 และเข้ารับการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สำเร็จการศึกษาในปี 2561 ทั้ง 2 หลักสูตรมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทำให้ได้รับความรู้ทั้งจากภาคทฤษฎีและจากการปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ โดยได้รับความรู้จากอาจารย์หลากหลายๆท่านที่มากประสบการณ์และความความรู้ด้านสาธารณสุขอย่างรอบทิศทันสมัย อีกทั้งได้รับมิตรภาพดีๆจากเพื่อนๆ และพี่ๆ จึงทำให้รู้สึกมีความสุข อบอุ่นทุกครั้งที่ได้กลับมาที่นี่ ยังคิดถึงบรรยากาศที่ดีเสมอครับ”
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นหลักสูตรที่เป็นความต้องการของหน่วยงาน และตอบโจทย์ กับการทำงานเพราะสามารถทำงานไปได้ด้วย เรียนไปด้วย มีการกำหนดกรอเวลาการเรียนที่ชัดเจน อีกทั้ง คณาจารย์ในหลักสูตร ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับในแวดวงสถาบันการศึกษาและสาธารณสุข หลักสูตรที่เรียนได้รับการรับรองจาก ก.พ. บ่งบอกถึงความมีมาตรฐานและคุณภาพเป็นที่ยอมรับ