วัคซีน COVID-19 The Series ตอนที่ 1 วัคซีนชนิด mRNA

RSS
วัคซีน COVID-19 The Series ตอนที่ 1 วัคซีนชนิด mRNA
mRNA คืออะไร
mRNA คือรูปแบบการสร้างโปรตีนอย่างนึ่งของร่างกาย โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีผลิต mRNA อยู่แล้ว แต่การสร้างวัคซีน mRNA คือการที่เราต้องการให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนที่ลักษณะคล้ายๆ โปรตีนหนาม หรือสไปค์ (Spike) โปรตีนของไวรัส เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายของเราโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ หากมีเชื้อไวรัสตัวนั้นเข้าสู่ร่างกาย

SARS CORONAVIRUS SPIKE GLYCOPROTEIN MOSAIC (C-TERM) (The Native Antigen Company, 2021)
วัคซีน mRNA ย่อมาจาก Messenger Ribonucleic Acid เป็นเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ ที่ลงลึกถึงระดับโมเลกุล จากเดิมที่ใช้โปรตีนของไวรัส หรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอฉีดเข้าไปร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา แต่สำหรับเทคโนโลยี mRNA จะแตกต่างออกไป โดยชิวิธีฉีดพันธุกรรมโมเลกุลที่เรียกว่า mRNA เข้าไปในร่างกาย ซึ่งร่างกายก็จะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายหนามของไวรัส COVID-19 แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ขึ้นมา ซึ่งโปรตีนตัวนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู่กับไวรัส นอกจากนี้วัคซีนยังมี ไขมันอนุภาคนาโน (Lipid nanoparticle) ที่ใช้ห่อหุ้ม mRNA เพื่อป้องกันการ​ย่อยสลายจากเอนไซม์ไรโบนิวคลิเอสซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย

 

mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย Lipid nanoparticle (Michael H, 2016)
โดยธรรมชาติ สารพันธุกรรม mRNA เหล่านี้จะถูกขจัดออกจากร่างกายภายในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่สะสมหรือฝังตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ในร่างกาย
ข้อดีของเทคโนโลยี mRNA
  • ใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าวัคซีนทั่วไป เนื่องจากใช้กระบวนการสังเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยโรงงานขนาดใหญ่
  • การผลิตไม่ต้องใช้กระบวนการซับซ้อน
  • สามารถผลิตวัคซีนได้ในริมาณมาก
  • สามารถปรับปรุงวัคซีนเพื่อรองรับสายพันธุ์หากมีการกลายพันธุ์ได้ง่าย
  • แม้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ และเป็นเทคนิคการผลิตวัคซีนแบบใหม่ ที่ยังไม่เคยใช้ในการผลิตวัคซีนตัวอื่น ทำให้มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยระยะยาว แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาอันสั้น ได้มีการนำไปใช้แล้วกว่า 100 ล้านโดส ทำให้มีประสบการณ์การใช้อย่างรวดเร็ว ที่ทำให้มั่นใจถึงความปลอดภัยได้
ข้อจำกัดของวัคซีน mRNA
  • ต้องเก็บรักษาวัคซีนที่อุณหภูมิต่ำมาก เนื่องจาก mRNA ถูกทำลายได้ง่าย
  • ต้องอาศัยนาโนพาร์ติเคิล (Nanoparticle) ซึ่งเป็นสารที่นำมาห่อหุ้มป้องกัน และเป็นตัวนำพา mRNA สารนี้อาจกระตุ้นการแพ้รุนแรงได้
การใช้วัคซีนชนิด mRNA ป้องกันโรคโควิด-19
ปัจจุบันทั่วโลกฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิด mRNA มากกว่า 500,000,000 โดส จากการศึกษาพบว่ามีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำประมาณ 3-5 : 1,000,000 โดส ซึ่งใกล้เคียงกับวัคซีนอื่นๆ ที่กำลังฉีดทั่วโลก โดยภาพรวมถือว่าวัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และเป็นวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อโรค COVID-19 สูงถึงร้อยละ 95
ปัจจุบันวัคซีน mRNA มียี่ห้ออะไรบ้าง
ปัจจุบันวัคซีน mRNA มีอยู่ด้วยกัน 2 ยี่ห้อ (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2564) ได้แก่ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา
วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer)
ประเทศผู้ผลิต คือ สหรัฐอเมริกา โดยบริษัท BioNTech/Pfizer มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 ที่มีอาการโดยรวม ร้อยละ 95 มีคำแนะนำให้ฉีดกลุ่มอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยเว้นระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์

วัคซีนชนิด mRNA โดยบริษัท BioNTech/Pfizer (Dado R, 2020)
วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna)
ประเทศผู้ผลิต คือ สหรัฐอเมริกา โดยบริษัท Moderna มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 ที่มีอาการโดยรวม ร้อยละ 94.1 ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 ที่มีอาการรุนแรงโดยรวม ร้อยละ 100 โดยมีคำแนะนำให้ฉีดกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเว้นระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน

วัคซีนชนิด mRNA โดยบริษัท Moderna (Dado R, 2021)
บรรณานุกรม
  1. วิชัยเวช. (2564). วัคซีน mRNA. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/.
  2. The Native Antigen Company. (2021). SARS Coronavirus spike. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://thenativeantigencompany.com/products/sars-coronavirus-spike-glycoprotein.
  3. Michael H. (2016). Lipid nanoparticle. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.genengnews.com/insights/mrna.
  4. Dado R. (2563). วัคซีน mRNA โดยบริษัท BioNTech/Pfizer. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.ft.com/content/.
  5. Dado R. (2564). วัคซีน mRNA โดยบริษัท Moderna. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailand.

โพสต์ก่อนหน้า โพสต์ถัดไป

  • Admin WTU Website