เทียบอาการโควิด-9 กับสายพันธุ์ต่างๆที่เข้าในไทยแล้ว

RSS
เทียบอาการโควิด-9 กับสายพันธุ์ต่างๆที่เข้าในไทยแล้ว
เทียบอาการโควิด-9 กับสายพันธุ์ต่างๆที่เข้าในไทยแล้ว

สายพันธุ์ที่ 1 : สายพันธุ์อู่ฮั่น (Serine) 
                     อาการ : อาการทั่วไปสามารถมีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย หากมีอาการรุนแรงจะมีลักษณะหายใจลำบาก-หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

สายพันธุ์ที่ 2 : เบตา (Beta)
              อาการ : ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดศีรษะ ตาแดง รับรส-รับกลิ่นผิดปกติ และมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี เมื่อโควิดลงปอด จะหายใจลำบาก หายใจถี่ มีเสมหะในปอด เจ็บหน้าอก และสูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

สายพันธุ์ที่ 3 : อัลฟา (Alpha)
                       อาการ : แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดตามร่างกายและศีรษะ และการรับรส-ได้รับกลิ่นผิดปกติ

สายพันธุ์ที่ 4: แกมมา (Gamma)
                       อาการ :  รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง มีความสามารถแพร่ระบาดวนเวียนอยู่ในหมู่คนที่ได้รับวัคซีนแล้วได้ด้วย แม้พื้นที่นั้นๆจะมีการฉีดวัคซีนที่สูงก็ตาม (ลดประสิทธิภาพวัคซีน)

สายพันธุ์ที่ 5 : เดลตา (Delta)
                       อาการ : สายพันธุ์นี้เป็นที่อันตรายอย่างมากในไทย เพราะทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในขั้นวิกฤต สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดแต่มีความซับซ้อนเพราะแม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบถึงสองโดสแล้ว อาการก็ยังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง (ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่เจอสายพันธุ์เดลตาพลัสเพิ่มเติม)
อาการในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกัน หรือได้รับวัคซีนแล้วหนึ่งโดส : ปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เป็นไข้ และไอบ่อย
อาการของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วจำนวนสองโดส : ปวดศีรษะ ไอ จาม เจ็ยคอ และในบางรายมีการสูญเสียการได้กลิ่น
                       นอกจากนี้อาการที่เห็นได้ชัดของผู้ที่ติดโควิดสายพันธุ์เดลตานี้ ในผู้ที่มีอายุน้อยมักไม่แสดงอาการ แต่อันที่จริงแล้วอาจอยู่ในระยะแพร่เชื้อแล้ว และแม้ว่าฉีดวัคซีนแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อได้และอาจมีอาการเข้าขั้นหนัก ดังนั้นการต้องปลีกวิเวกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดเชื้อด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม และสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด


ที่มา :
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (2564). อัพเดท ‘สายพันธุ์โควิดตัวไหนเข้าไทยแล้ว? พร้อมเช็ค อาการโควิดแยกตามสายพันธุ์, สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2564. จาก. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/950571
 
 
 

โพสต์ก่อนหน้า โพสต์ถัดไป

  • Admin WTU Website