แนะนำคณะ
สถานการณ์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจหลายชนิด ทั้งเพื่อการบริโภค ในประเทศและเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารของโลก แต่จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่มีการกีดกั้นทางการค้า ด้วยการใช้มาตรการทางสุขภาพอนามัยเป็นประเด็นสำคัญ การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต้องได้มาตรฐานสากล มีการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนก่อนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความผันผวนจากเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องผลักดันให้ผู้ผลิตภายในประเทศไทยปรับตัวให้สามารถแข่งขันบนฐานความรู้และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่กับต่างประเทศ
สถานการณ์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจหลายชนิด ทั้งเพื่อการบริโภค ในประเทศและเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารของโลก แต่จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่มีการกีดกั้นทางการค้า ด้วยการใช้มาตรการทางสุขภาพอนามัยเป็นประเด็นสำคัญ การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต้องได้มาตรฐานสากล มีการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนก่อนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความผันผวนจากเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องผลักดันให้ผู้ผลิตภายในประเทศไทยปรับตัวให้สามารถแข่งขันบนฐานความรู้และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่กับต่างประเทศ
ประเทศไทยต้องสร้างความได้เปรียบด้านฐานการผลิตในภาคการเกษตร พัฒนามูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้เน้นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านการสัตวแพทย์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการดำเนินการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพสัตว์และสวัสดิการสัตว์ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบด้านฐานการผลิตในด้านการปศุสัตว์ไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาธุรกิจด้านการปศุสัตว์อันจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจการเกษตรประเทศไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น สถานการณ์และการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีวัฒนธรรมแบบเครือญาติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จะเห็นได้จากการมีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน อาทิเช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว แบ่งปันข้าวปลาอาหาร เป็นต้น แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้คนเรารับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเปิดรับวัฒนธรรมจากต่างชาติได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ชีวิตมีความรีบเร่ง แข่งขัน และต้องพึ่งพาตนเองเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการแพร่กระจายของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดโรคอุบัติใหม่ในสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชน และความเชื่อมั่นในสินค้าประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของต่างประเทศ ทำให้กระทบต่อการส่งออกสินค้าและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ภาษาไทย หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Doctor of Veterinary Medicine Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Veterinary Medicine
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) สพ.บ.
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) D.V.M.
หมวดวิชา | เกณฑ์ สกอ. | หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต |
---|---|---|
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 | 30 หน่วยกิต |
1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 9 หน่วยกิต | |
1.2) กลุ่มวิชาภาษา | 15 หน่วยกิต | |
1.3) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 6 หน่วยกิต | |
2) หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 144 | 210 หน่วยกิต |
2.1) กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน | 15 หน่วยกิต | |
2.2) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 18 หน่วยกิต | |
2.3) กลุ่มวิชาชีพ | 173 หน่วยกิต | |
2.4) กลุ่มวิชาชีพ (เลือก) | 4 หน่วยกิต | |
3) หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 | 6 หน่วยกิต |
รวม | ไม่น้อยกว่า 180 | 246 หน่วยกิต |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองวิทยฐานะหรือเทียบเท่า
- เป็นผู้ที่มีสภาพร่างกายและจิตปกติไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เคยถูกศาลพิพากษาถึงขั้นจำคุก หรืออยู่ในระหว่างคดีอาญาการคัดเลือกนิสิตการคัดเลือกนิสิตให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ผลการสอบคะแนนวัดความรู้หรือผลการสอบอื่นๆ การสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ทดสอบบุคลิกภาพและสุขภาพจิตหรือพิจารณาจากเกณฑ์คัดเลือกที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการและ/หรือประชาชน ครอบครัว และชุมชน ทั้งในหน่วยงานด้านการสัตวแพทย์และการสาธารณสุขของภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับท้องถิ่น ชุมชน ระดับประเทศ และระดับสากล
- เป็นนักวิชาการ ในสถาบันวิจัยหรือหน่วยงานที่ทำการศึกษาวิจัยทั้งในหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับประเทศและระดับสากล
- เป็นอาจารย์หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หลังสำเร็จศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ระเบียบการแต่งกายของนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์
ติดต่อคณะ
CONTACT INFO
อาคารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
เลขที่ 600 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี
โทร.035-651-000,083-066-5205
เลขาคณะสัตวแพทยศาสตร์
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น