แนะนำคณะ
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการ เลขที่ 2/4 2540 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นับตั้งแต่ได้เปิดดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 14 ปี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษา คือบัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติและมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน
การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ที่มาจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นประชากรที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม จำเป็นต้องมีสุขภาวะที่ดีทำงานด้วยความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานประกอบการประมาณ 300,000 แห่ง มีลูกจ้างภายใต้กองทุนเงินทดแทนประมาณ 8,000,000 คน สุขภาพของผู้ประกอบอาชีพเป็นปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ โรคจากการประกอบอาชีพ เช่น พิษจากสารตะกั่วและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการทำงาน มีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้กระบวนการผลิตทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือ อุบัติเหตุต่อร่างกายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากสถิติอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมปี 2549 พบว่าคนงานประสบอันตรายจากการทำงานประมาณปีละ 200,000 คน เสียชีวิตจากการทำงานปีละ 600 คน จ่ายเงินค่าทดแทนปีละ 1,600 ล้านบาท โดยมีสาเหตุจากเครื่องจักร/อุปกรณ์ไม่ปลอดภัยร้อยละ 28
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นใช้ระบบการศึกษาที่หลากหลายรวมทั้งใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตบัณฑิตด้านอาชีวอนามัยผลิตบัณฑิตด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ที่มีองค์ความรู้ และทักษะพร้อมที่จะพัฒนา ด้วยความเสียสละเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสาธารณให้มีวินัย ใฝ่รู้ มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี งามและมีลักษณะเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ทั้งมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีจิตสำนึกในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการปัญหาและสามารถนำไปปฏิบัติในการแก้ปัญหาขององค์กร และสังคมได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐานของคนไทย ด้วยความอุตสาหะและเสียสละเพื่อสังคม
พันธกิจ
1.) จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้เป็นเลิศทางทักษะในเชิงปฏิบัติควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้เสียสละ และอุตสาหะ ตามมาตรฐานสากล
2.) ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพให้ก้าวหน้า ทันสมัยเสมอ
3.) ให้บริการวิชาการทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินชีวิตของประชาชน พัฒนาชุมชน และสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
ปรัชญา
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้ให้ที่มีปัญญาคิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม และ ความรับผิดชอบ ในการประกอบอาชีพเป็นขุมพลังแห่งองค์ความรู้ ที่ทันสมัยเสมอไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบ มีจิตเอื้อเฟื้อต่อสังคม
อัตลักษณ์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์
Workability - ปฏิบัติงานแบบมีทักษะ
เอกลักษณ์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์
United creative - ร่วมมือกันสร้างสรรค์
Wisdom - ชั้นนำทางปัญญา
Technology - พัฒนาด้วยเทคโนโลยี
Universality - ผลิตบัณฑิตดีสู่ระดับสากล (มีความรู้กว้างขวาง)
คณบดี
.....
ผู้บริหาร
- ส.ม. ม.มหิดล พ.ศ. 2555
- วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)ม.สุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2559
- สพ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2548
วศ.บ. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พ.ศ. 2545
วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี) ม.เทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2552
วท.บ. (พยาบาลและผดุงครรภ์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล พ.ศ. 2521
วท.บ. (จุลชีววิทยา) ม.พะเยา พ.ศ. 2555
ดังนั้น สถานประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญ ต้องมีการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการดำเนินงาน โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งบุคลากรดังกล่าว ยังขาดแคลนและเป็นความต้องการของภาคราชการและภาคเอกชน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จำเป็นต้องมีบุคลากรด้านอาชีวอนามัยเพื่อดูแลจัดการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงงานให้ทั่วถึง ซึ่งมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรเพื่อแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ส.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Public Health
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.P.H.
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ | 9 |
1.2) กลุ่มวิชาภาษา | 15 |
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 6 |
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน | 103 |
2.1 กลุ่มวิชาแกน | 58 |
2.1.1 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน | 24 |
2.2.1 รายวิชาพื้นฐานสาธารณสุข | 20 |
2.2.3 รายวิชาชีพ | 14 |
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ | 30 |
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก | 15 |
3.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 139 |
1.เป็นผู้สาเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (สาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองหรือนักเรียนที่สาเร็จการศึกษาจากต่างประเทศไม่เคยต้องโทษตามคาพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทาโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2.เป็นผู้สาเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (สาหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยฯ) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง หรือ นักเรียนที่สาเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่เคยต้องโทษตามคาพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทาโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3.มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
4.ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
4.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง/หรือผู้อื่น รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรต่อการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.3 เป็นโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.5 มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง คือ
4.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
4.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
4.6 มีความผิดปกติในการได้ยิน คือ
4.6.1 มีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 40 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง
4.6.2 ความสามารถในการแยกเเยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จาก ความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
4.7 โรคหรือความพิการอื่นๆซึ่งมิได้ระบุไว้ที่ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1.นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2.นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
3.นักวิชาการสาธารณสุขในองค์กรบริหารท้องถิ่นตำบล (อบต.) เทศบาล ตำบลต่างๆ
4.เจ้าหน้าที่/พนักงานสาธารณสุขในองค์กรเอกชนหรือโรงงาน
5.อาจารย์ด้านสาธารณสุขศาสตร์ในสถาบันการศึกษา
ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
ติดต่อคณะ
CONTACT INFO
คณะสาธารณสุขศาสตร์ บุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 123 หมู่ 11 ตำบลบ้านยาง
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
โทร.063-2192099, 044-666618
คณะแพทยศาสตร์สาขาสาธารณสุขศาสตร์ บุรีรัมย์